สถาปนา 40 ปี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่

สถาปนา 40 ปี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่

วันเสาร์ที่ 21 ธันวาคม 2567 พระเดชพระคุณพระพรหมวัชรธีราจารย์, ศ.ดร. อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พร้อมคณะผู้บริหาร พระเดชพระคุณ พระเทพมังคลาจารย์ เจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ พระเดชพระคุณ พระราชโพธิวรคุณ รองเจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ ดร.ณรงค์ ชวสินธุ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ นายพิชัย เลิศพงศ์อดิศร ว่าที่ผู้สมัครนายกอบจ.เชียงใหม่ แขกผู้มีเกียรติ ร่วมเปิดซุ้มประตูทางเข้า มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ และร่วมทำบุญในงานทำบุญฉลองวันสถาปนา 40 ปี (2527 – 2567) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ โดยมีพระครูสิริบรมธาตุพิทักษ์, ผศ.ดร. รองอธิการบดี วิทยาเขตเชียงใหม่ พร้อมคณะผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ บุคลากร นิสิต มหาวิทยาลัย ฯ ถวายการต้อนรับ/ต้อนรับ ณ บริเวณซุ้มประตูทางเข้า มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ ตำบลป่าเมี่ยง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่.

ร่วมทำบุญสถาปนา ๔๐ ปี มจร.วิทยาเขตเชียงใหม่

ร่วมทำบุญสถาปนา ๔๐ ปี มจร.วิทยาเขตเชียงใหม่

วันเสาร์ที่ 21 ธันวาคม 2567 พระเดชพระคุณ พระเทพมังคลาจารย์ เจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ เจ้าอาวาสวัดท่าตอน พระอารามหลวง ร่วมเปิดซุ้มประตูทางเข้า มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ และร่วมทำบุญในงานทำบุญฉลองวันสถาปนา 40 ปี (2527 – 2567) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ โดยมีพระครูสิริบรมธาตุพิทักษ์, ผศ.ดร. รองอธิการบดี วิทยาเขตเชียงใหม่ พร้อมคณะผู้บริหาร ถวายการต้อนรับ ณ บริเวณซุ้มประตูทางเข้า มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ ตำบลป่าเมี่ยง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่.

(มีคลิป) สวนสัตว์เชียงใหม่แห่ขันหมาก “น้องขนุน” ฮิปโปแคระหนุ่ม 21 ปี สู่ขอ “น้องหมูกรอบ” สวนสัตว์เปิดเขาเขียว

สวนสัตว์เชียงใหม่แห่ขันหมาก “น้องขนุน” ฮิปโปแคระหนุ่ม 21 ปี สู่ขอ “น้องหมูกรอบ” สวนสัตว์เปิดเขาเขียว

สวนสัตว์เชียงใหม่จัดขบวนแห่ ส่ง “น้องขนุน” ฮิปโปโปเตมัสแคระหนุ่มวัย 21 ปี ซึ่งอยู่ในช่วงวัยเจริญพันธุ์ เพื่อไปหาคู่แท้ที่สวนสัตว์นครราชสีมา จับคู่กับฮิปโปแคระสาว “น้องหมูกรอบ” จากสวนสัตว์เปิดเขาเขียว ที่เดินทางย้ายถิ่นฐานมาอยู่ที่สวนสัตว์โคราชเช่นกัน ท่ามกลางขบวนมาสคอตสัตว์น่ารักของเหล่าบรรดาเพื่อนเจ้าบ่าวสุดแสนอบอุ่นและครึกครื้น

เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2567 นายวุฒิชัย ม่วงมัน ผู้อำนวยการสวนสัตว์เชียงใหม่ เผยว่า ทางสวนสัตว์เชียงใหม่ได้จัดทีมสัตวแพทย์ และทีมเจ้าหน้าที่มาสังเกตการณ์ เตรียมความพร้อมในการขนย้าย “น้องขนุน” ฮิปโปบ่าวเหนือ ไปอยู่สวนสัตว์โคราช จังหวัดนครราชสีมานั้น ซึ่งการส่งตัว “น้องขนุน” ในครั้งนี้ เพื่อเดินทางไปในฐานะเจ้าบ่าวนั้น ทางสวนสัตว์เชียงใหม่ จึงจัดพิธีแห่สุดคึกครื้น โดยมีผู้อำนวยการสวนสัตว์เชียงใหม่ เป็นเฒ่าแก่ฝ่ายเจ้าบ่าวถือสินสอดเพื่อส่งมอบให้เจ้าสาว “น้องหมูกรอบ” ที่โคราช และมีขันโตกอาหารที่ทำจากฟักทอง ผักบุ้ง และหญ้า อาหารโปรดของฮิปโปโปเตมัสแคระนำชบวน จากจุดสวนดอกไม้ภายในสวนสัตว์เชียงใหม่ไปยังหน้าประตูทางเข้าสวนสัตว์ พร้อมด้วยขบวนเหล่ามาสคอสสัตว์น่ารักมาสร้างสีสัน และส่งกำลังใจให้กับ “น้องขนุน” ในการย้ายถิ่นฐานเพื่อไปสร้างครอบครัว รวมถึงสัตวแพทย์ ทีมเจ้าหน้าที่ ที่ดูแลอย่างใกล้ชิดตลอดทางในการเคลื่อนย้ายครั้งนี้ ซึ่งขนย้ายโดยรถหกล้อพร้อมเครนประดับตกแต่งด้วยผ้าระบายสีชมพูสลับขาวรอบคัน ออกเดินทางในวันนี้ และจะถึงสวนสัตว์โคราชในคืนวันเดียวกันนี้

ที่สวนสัตว์เชียงใหม่ ยังมีฮิปโปโปเตมัสแคระ อีก 2 ตัว ที่รอให้นักท่องเที่ยวมาชมความน่ารักได้ตลอดทุกวัน คือ “น้องซูโม่” และ “น้องแก่นคูน” น้าสาวน้องหมูเด้ง ณ ส่วนจัดแสดงสัตว์แอฟริกา พบกับน้องได้ ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00 น – 17.00 น. เปิดประสบการณ์ใหม่ๆ ไปกับเรา Chiang Mai Zoo : Zoo Of Happiness สวนสัตว์แห่งความสุข.

เจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ เมตตาเยี่ยมโรงเรียนเทศบาลจอมทอง 1

เจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ เมตตาเยี่ยมโรงเรียนเทศบาลจอมทอง 1

เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2567 พระเดชพระคุณ พระเทพมังคลาจารย์ เจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ เจ้าอาวาสวัดท่าตอน พระอารามหลวง เมตตาเยี่ยมโรงเรียนเทศบาลจอมทอง 1 (ชุมชนบ้านข่วงเปาเหนือ) พร้อมคณะกรรมการศูนย์พัฒนาการเมืองภาคพลเมือง สถาบันพระปกเกล้า จังหวัดเชียงใหม่ โดยมี นายธนบูรณ์ รัตนบำเพ็ญ ผู้อำนวยการโรงเรียน คณะครู นักเรียน ถวายการต้อนรับ บรรยายสรุป เรื่องการคัดแยกขยะ และการผลิตวัสดุอุปกรณ์ การเรียนการสอน ณ โรงเรียนเทศบาลจอมทอง 1 (ชุมชนบ้านข่วงเปาเหนือ) ตำบลข่วงเปา อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่.

(มีคลิป) ปปส.ภาค 5 เตรียมความพร้อมขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการกองทุนแม่ของแผ่นดิน ระยะ 3 ปี (พ.ศ.2568 – 2570) “จัดอบรมวิทยากรกระบวนการกองทุนแม่ของแผ่นดินจังหวัดเชียงใหม่” (จังหวัดนำร่อง) “ขยายผลธวัชบุรีโมเดล”

ปปส.ภาค 5 เตรียมความพร้อมขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการกองทุนแม่ของแผ่นดิน ระยะ 3 ปี (พ.ศ.2568 – 2570) “จัดอบรมวิทยากรกระบวนการกองทุนแม่ของแผ่นดินจังหวัดเชียงใหม่” (จังหวัดนำร่อง) “ขยายผลธวัชบุรีโมเดล”

เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2567 เวลา 13.30 น. ที่หอประชุมที่ว่าการอำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ นายธันวา ผุดผ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ภาค 5 เป็นประธานในพิธีเปิด “โครงการฝึกอบรมวิทยากรกระบวนการกองทุนแม่ของแผ่นดินจังหวัดนำร่องขยายผลธวัชบุรีโมเดล ในพื้นที่อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่” โดยมี นางณิชพลัฏฐ์ วรรณคำ พัฒนาการจังหวัดเชียงใหม่ นายจักรินทร์ สิรินทรภูมิ นายอำเภอดอยสะเก็ด เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนจังหวัดเชียงใหม่ เจ้าหน้าที่ ปปส.ภาค 5 ร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิด นายจิรพงศ์ วางวงศ์ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการฯ กล่าวรายงาน โดยมีนายสว่าง ธาตุอินทร์จันทร์ ประธานเครือข่ายกองทุนแม่ของแผ่นดินจังหวัดเชียงใหม่ และประธานเครือข่ายกองทุนแม่ของแผ่นดิน 8 จังหวัดภาคเหนือ (ตอนบน) พร้อมด้วยคณะกรรมการกองทุนแม่ของแผ่นดินระดับหมู่บ้านในพื้นที่อำเภอดอยสะเก็ด เจ้าหน้าที่สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอดอยสะเก็ด เจ้าหน้าที่พัฒนชุมชนจังหวัดเชียงใหม่ และเจ้าหน้าที่สำนักงาน ปปส.ภาค 5 เข้าร่วมอบรมในครั้งนี้

การจัดโครงการฝึกอบรมดังกล่าว สืบเนื่องจากสำนักงาน ป.ป.ส. ได้จัดทำแผนปฏิบัติการโครงการหมู่บ้านกองทุนแม่ของแผ่นดิน : ชัยชนะยาเสพติดที่ยั่งยืนสนองพระราชปณิธานสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พ.ศ. 2568 – 2570 เพื่อฟื้นฟู เสริมสร้าง และพัฒนาความเข้มแข็งให้กับหมู่บ้านกองทุนแม่ของแผ่นดิน และบูรณาการต่อยอดการแก้ไขปัญหายาเสพติดในหมู่บ้านชุมชน โดยแผนงานในช่วงเดือนตุลาคม – ธันวาคม พ.ศ. 2567 เป็นการเตรียมการวิทยากรกระบวนการกองทุนแม่ของแผ่นดินในระดับต่าง ๆ เพื่อเป็นแกนนำในการดำเนินงานกองทุนแม่ของแผ่นดินตามแผนปฏิบัติการกองทุนแม่ของแผ่นดิน ระยะ 3 ปี (พ.ศ.2568 – 2570) ต่อไป สำนักงาน ปปส.ภาค 5 จึงร่วมกับสำนักพัฒนาชุมชน และเครือข่ายกองทุนแม่ของแผ่นดินพื้นที่ภาคเหนือตอนบน เครือข่ายกองทุนแม่ของแผ่นดินทั้ง 8 จังหวัด จัดโครงการฝึกอบรมวิทยากรกระบวนการกองทุนแม่ของแผ่นดินจังหวัดนำร่องขยายผลธวัชบุรีโมเดลขึ้น ระหว่างวันพฤหัสบดีที่ 19 ถึงวันศุกร์ที่ 20 ธันวาคม 2567โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพของคณะกรรมการกองทุนแม่ของแผ่นดินหมู่บ้านในพื้นที่ทดลองนำร่อง ตำบลสันปูเลย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ให้มีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการกองทุนแม่ของแผ่นดิน รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงเครือข่ายเพื่อนำไปขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดในแต่ละพื้นที่อย่างบูรณาการ ซึ่งผู้เข้าร่วมอบรมประกอบด้วย คณะกรรมการกองทุนแม่ของแผ่นดิน แกนนำประชาชนที่ เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน และเจ้าหน้าที่สำนักงาน ปปส.ภาค 5 ที่รับผิดชอบงานกองทุนแม่ของแผ่นดิน รวมทั้งสิ้น 80 คน โดยได้รับเกียรติจากคณะวิทยากรกระบวนการกองทุนแม่ของแผ่นดิน ที่ผ่านการอบรมจาก สำนักงาน ป.ป.ส. เป็นผู้ถ่ายทอดองค์ความรู้และประสบการณ์การขับเคลื่อนงานกองทุนแม่ของแผ่นดินให้แก่ผู้เข้าอบรม

นายธันวาได้กล่าวชื่นชมการรวมพลังของภาคประชาชนในบทบาทคณะกรรมการกองทุนแม่ของแผ่นดิน ที่ร่วมกันขับเคลื่อนงานกองทุนแม่ของแผ่นดิน โดยการจัดอบรมในครั้งนี้จะทำให้คณะกรรมการกองทุนแม่ของแผ่นดินสามารถพัฒนาศักยภาพของตนเอง เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนการดำเนินงานกองทุนแม่ของแผ่นดินในหมู่บ้านของตน และหมู่บ้านใกล้เคียง ถือเป็นการขับเคลื่อนงานที่สนองพระราชปณิธานการแก้ไขปัญหายาเสพติดของ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ซึ่งได้พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์เป็นเงินตั้งต้นในการดำเนินงานครั้งแรกเมื่อปีพ.ศ. 2547 และยังคงมีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน

ทั้งนี้ พื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน มีการก่อตั้งหมู่บ้านกองทุนแม่ของแผ่นดินไปแล้ว 3,097 หมู่บ้าน โดยจังหวัดเชียงใหม่มีหมู่บ้านกองทุนแม่ของแผ่นดินรวม 717 หมู่บ้าน และอำเภอดอยสะเก็ดมีหมู่บ้านกองทุนแม่ของแผ่นดินแล้ว 26 หมู่บ้าน ซึ่งหมู่บ้านเหล่านี้จะเป็นอีกหนึ่งกลไกสำคัญที่จะร่วมขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่ โดยใช้แนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในการแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างยั่งยืน เป็นพลังที่มีความเข้มแข็งอย่างแท้จริงในการเอาชนะปัญหาต่าง ๆ ในหมู่บ้าน/ชุมชนได้สำเร็จ.

จัดโครงการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานนิสิต

จัดโครงการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานนิสิต

วันพุธที่ 18 ธันวาคม พ.ศ.2567 วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จัดโครงการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานนิสิต ทุกชั้นปี ประจำปี 2567 ระหว่างวันที่ 10- 19 ธันวาคม 2567 มีพระวิปัสสนาจารย์ นำฝึกปฏิบัติ โดยมีผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ บุคลากร วิทยาลัยสงฆ์ฯ ถวายการดูแลอำนวยตวามสะดวก ณ อาคารสัทธาธรรม (พระเทพรัตนนายก อุปถัมภ์) วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตำบลต้นธง อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน.

ตรวจข้อสอบธรรมศึกษา ชั้นตรี ธรรมสนามหลวง

ตรวจข้อสอบธรรมศึกษา ชั้นตรี ธรรมสนามหลวง

วันพุธที่ 18 ธันวาคม พ.ศ.2567 เวลา 09.00 น. พระเดชพระคุณ พระธรรมเสนาบดี รองเจ้าคณะภาค ๗ เจ้าอาวาสวัดพระธาตุดอยสุเทพ ราชวรวิหาร ปฏิบัติหน้าที่แทนเจ้าคณะภาค 7 เมตตาเป็นประธานในการตรวจข้อสอบธรรมศึกษา ชั้นตรี ธรรมสนามหลวง ประจำปี 2567 คณะสงฆ์ภาค 7 (เชียงใหม่,ลำพูน,แม่ฮ่องสอน) ถวายสักการะ พระเทพมังคลาจารย์ เจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ พระเทพรัตนนายก เจ้าคณะจังหวัดลำพูน พระสุมณฑ์ศาสนกิตติ์ เจ้าคณะจังหวัดแม่ฮ่องสอน นางสาวหน่อแก้ว อุตโน ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดลำพูน ในนาม สำนักงานพระพุทธศาสนาทั้ง 3 จังหวัด นางสิริรัตน์ โอภาพ วัฒนธรรมจังหวัดลำพูน ในนาม สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดทั้ง 3 จังหวัด โอกาสนี้ พระเทพรัตนนายก เจ้าคณะจังหวัดลำพูน กล่าวถวายรายงาน มีเจ้าคณะพระสังฆาธิการ/คณะกรรมการ ตรวจข้อสอบธรรมศึกษาชั้นตรี ณ หอประชุมสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญญมหาเถร) มจร.วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน ตำบลต้นธง อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน

เชิญเที่ยวงาน “มนต์เสน่ห์แห่งการให้ รวมใจชาติพันธุ์” Together We Give: Charity for All

เชิญเที่ยวงาน “มนต์เสน่ห์แห่งการให้ รวมใจชาติพันธุ์” Together We Give: Charity for All

ดาว ดวลเพลงชิงทุน สาวน้อยกระเหรี่ยง ยอดกตัญญู จากอำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ (นางสาว ศศิธร ประไพมาลี ) วัย 23 ปี ปัจจุบันเป็นศิลปิน ค่ายเพลง Once all music เจ้าของบทเพลง “ชีวิตฉัน ต้องมีเธอ” สำเร็จการศึกษา ปริญญาตรี จากมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ คณะศิลปศาสตร์ ภาษาจีน

ปัจจุบันเป็นศิลปิน เจ้าของแนวคิดการจัดงาน “มนต์เสน่ห์แห่งการให้ รวมใจชาติติพันธ์” เปิดเผยว่า “ความตั้งใจที่ดาวอยากจะช่วยเหลือน้องๆบนดอยในพื้นที่ อำเภออมก๋อยจังหวัดเชียงใหม่ เพราะตระหนักว่าเมื่อเข้าสู่ฤดูหนาวแล้ว ทางบ้านบนดอยจะหนาวเย็นมากๆ เมื่อดาวยังเป็นเด็กน้อยบนดอย ก็ได้รับการช่วยเหลือจากผู้ใหญ่ใจดี มีเมตตาจากในเมือง ที่เดินทางไกลเพื่อมอบผ้าห่มให้ วันนี้ดาวโตขึ้นแล้ว จึงอยากจะตอบแทนสังคม ที่เคยได้รับโอกาสคลายหนาว คลายทุกข์เพื่อให้พี่น้องชาวดอยได้มีผ้าห่มคลายความเหน็บหนาว ปี2567 และเพื่อเป็นการเผยแพร่ ส่งเสริมการอนุรักษ์วัฒนธรรมของบรรดากลุ่มชาติพันธ์ด้วย ภายในงานจะมีอาหารของแต่ละชนเผ่าและอาหารพื้นเมืองให้ได้ลิ้มลองกัน โดยเป็นเมนูซิกเนเจอร์ที่หาทานได้ยาก ที่สำคัญคือ มีการเดินแฟชั่นโชว์ของชุดชาติพันธ์ การแสดงศิลปวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธ์ ตลอดจน ชวนดื่มกาแฟออร์แกนิคพร้อมสัมผัสกลิ่นอายธรรมชาติ Toki coffee กาแฟจากขุนแม่รวมกัลยาณิวัฒนา ซึ่งไปเปิดตัวที่ประเทศจีนก่อนหน้านี้ จนได้รับการยอมรับว่าเป็นกาแฟที่รสชาติดีเยี่ยม มีเอกลักษณ์ โดดเด่น นอกจากนี้ จะได้รับความเพลิดเพลินไปกับดนตรีสดโดยศิลปินกะเหรี่ยงมาร่วมให้ความสนุกสนาน เพลิดเพลิน ภายในงานนี้มีของที่ระลึกมากมาย จึงฝากเชิญชวนทุกคนมาร่วมกิจกรรมสร้างสุขด้วยการแบ่งปัน ให้โลกใบนี้น่าอยู่ขึ้น เพราะความรักและน้ำใจที่มอบแก่กัน”

“มนต์เสน่ห์แห่งการให้: รวมใจชาติพันธุ์” วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคม 2567 เวลา: 17:00 – 21:00 น. ณ ศูนย์เรียนรู้นานาชาติเชียงใหม่ (73/3 ถ.คันคลองชลประทานฝั่งซ้าย ซ.1 ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่)

กิจกรรมภายในงาน

-ลิ้มรสอาหารประจำเผ่าและอาหารพื้นเมือง
-ชมการแสดงแฟชั่นโชว์ชุดชาติพันธุ์
-ตื่นตากับการแสดงศิลปวัฒนธรรมชาติพันธุ์
-ดื่มกาแฟออร์แกนิกพร้อมสัมผัสกลิ่นอายของธรรมชาติ
-เพลิดเพลินกับดนตรีสด การแสดง และของที่ระลึกในโซนศิลปะ

ร่วมบริจาคเพียง 999 บาท/คน ช่องทางบริจาค โอนเงินผ่านบัญชี ธ. กสิกรไทย สาขาโลตัส คำเที่ยง เลขที่บัญชี 177-2-49867-1

ข้อมูลเพิ่มเติม Facebook : ศูนย์เรียนรู้นานาชาติเชียงใหม่ โทรศัพท์ : 093-1967535, 083-4805345, 0959738382.

รอง ผบ.นบ.ยส.35 ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการปฏิบัติงานของหน่วยด้านปรามปรามยาเสพติดในพื้นที่จังหวัดตากและจังหวัดแม่ฮ่องสอน

รอง ผบ.นบ.ยส.35 ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการปฏิบัติงานของหน่วยด้านปรามปรามยาเสพติดในพื้นที่จังหวัดตากและจังหวัดแม่ฮ่องสอน หวังปฏิบัติงานเชิงรุกในทุกมิติก่อนหยุดยาวเทศกาลปีใหม่

เมื่อวันที่ 17 ธ.ค. 67 เวลา 09.00 น. พล.ท.สมจริง กอรี รองผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการสกัดกั้นและปราบปรามยาเสพติด สารตั้งต้นและเคมีภัณฑ์ ชายแดนภาคเหนือ (รอง ผบ.นบ.ยส.35 ) เปิดเผยว่า พล.ท.กิตติพงศ์ ชื่นใจชน ผบ.นบ.ยส.35 มอบหมายให้นำคณะตรวจเยี่ยมการปฏิบัติงานของ หน่วยด้านปรามปรามยาเสพติดในพื้นที่จังหวัดตากและจังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยเฉพาะ ร้อย.ร.421 หน่วยเฉพาะกิจราชมนู ที่ ท่าข้ามสินค้าที่ 28 บ้านช่องแคบ ต.ช่องแคบ อ.พบพระ จังหวัดตาก โดยมีนายสราวุธ ภักดี ผอ.ปปส. ภาค 6 ร่วมให้ข้อมูลสถานการณ์ยาเสพติด สารตั้งต้นและเคมีภัณฑ์ ในพื้นที่
รองผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการสกัดกั้นและปราบปรามยาเสพติด สารตั้งต้นและเคมีภัณฑ์ ชายแดนภาคเหนือ

(รอง ผบ.นบ.ยส.35 ) กล่าวว่าจากประเด็นเส้นเขตแดนไทย – เมียนมาในพื้นที่การวางกำลังของกองกำลังว้า โดยเฉพาะด้านจังหวัดแม่ฮ่องสอน และ จังหวัดเชียงใหม่บางส่วน ทำให้พื้นที่เหล่านี้มีการเข้มงวดในเรื่องของมาตรการเฝ้าตรวจเพิ่มมากขึ้น อาจทำให้กลุ่มขบวนการลำเลียงยาเสพติดในพื้นที่ชะลอความพยายามในการลำเลียงยาเสพติดบางส่วน และมีการเปลี่ยนเส้นทางการนำเข้าไปยังด้าน อำเภอฝาง อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ , จังหวัดเชียงราย และ สปป.ลาว เพิ่มมากขึ้น

จากสถานการณ์ด้านการข่าว พบว่ายาเสพติดยังคงพักคอยอยู่ตามแนวชายแดนในปริมาณมากเช่นเดิม แต่รูปแบบการลำเลียงมีความหลากหลาย โดยเฉพาะการลำเลียงผ่านระบบขนส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ ยานพาหนะที่มีการดัดแปลง รวมถึง การซุกซ่อนปะปนมากับสินค้าทางการเกษตร โดยเฉพาะช่วงของเทศกาลปีใหม่ที่มีวันหยุดติดต่อกันหลายวัน และมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในภาคเหนือ รวมทั้งจากการตรวจยึดเคมีภัณฑ์ควบคุมจำนวนมาก ในพื้นที่ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เป็นสิ่งบอกเหตุได้ชัดเจนว่ากลุ่มผู้ผลิตยังคงมีความต้องการเคมีภัณฑ์เหล่านี้ นำไปใช้ในกระบวนการผลิตยาเสพติด ทั้งนี้ที่ผ่านมา นบ.ยส.35 จึงได้ร่วมกับ ปปส. ภาค 5 และภาค 6 เพิ่มมาตรการเฝ้าตรวจและสกัดกั้นให้เข้มข้นขึ้น โดยเฉพาะการลาดตระเวนตามแนวชายแดน การตั้งจุดตรวจระหว่างอำเภอเป้าหมาย ตลอดจนการอาศัยการข่าวจากหน่วยความมั่นคง เพื่อสกัดกั้นกลุ่มขบวนการลำเลียงยาเสพติดไว้ ณ พื้นที่ชายแดนให้มากที่สุด

สำหรับผลการดำเนินงานด้านการสกัดกั้นและปราบปรามของหน่วยตั้งแต่ 1 ต.ค. 67 – 16 ธ.ค.67 มีเหตุการณ์สำคัญ 44 เหตุการณ์ เกิดการปะทะ 9 ครั้ง ตรวจยึด/จับกุม 35 ครั้ง ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่และจังหวัดตาก จับกุมยาบ้า 47 ล้านเม็ด, ไอซ์ 2,357 กก., เฮโรอีน 140 กก., เคตามีน 802.86 กก.ผู้ต้องหา 45 คน เปรียบเทียบในห้วงเวลาเดียวกัน มียาบ้าเพิ่มขึ้น 11 ล้านเม็ด คิดเป็นร้อยละ 23.95 ไอซ์ เพิ่มขึ้น 1,593 กก.คิดเป็นร้อยละ 208.6.

(มีคลิป) อบจ.เชียงใหม่มอบเงินอุดหนุนมูลนิธิป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าและฝุ่นควัน จ.เชียงใหม่ “มุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวเชียงใหม่ ด้วยการให้บริการสาธารณะ ที่มีประสิทธิภาพ”

พิธีมอบเงินอุดหนุนมูลนิธิป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าและฝุ่นควัน จ.เชียงใหม่ “มุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวเชียงใหม่ ด้วยการให้บริการสาธารณะ ที่มีประสิทธิภาพ”

เมื่อวันที่ 16 ธ.ค.67 เวลา 13.30 น. ที่ห้องประชุมสภาฯ ชั้น 2 อบจ.เชียงใหม่ นายพิชัย เลิศพงศ์อดิศร นายกอบจ.เชียงใหม่ ประธานกล่าวเปิดงานพิธีมอบเงินอุดหนุนให้กับมูลนิธิป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่ากำหนดการงานพิธีมอบเงินอุดหนุนมูลนิธิป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าและฝุ่นควัน จังหวัดเชียงใหม่
โดยมีประธานกรรมการมูลนิธิป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าและฝุ่นควัน จังหวัดเชียงใหม่ นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวรับมอบเงินอุดหนุนมูลนิธิป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าและฝุ่นควัน จังหวัดเชียงใหม่ พร้อมร่วมลงนามบันทึกข้อตกลง ระหว่าง องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ผู้ให้เงินอุดหนุน โดยนายพิชัย เลิศพงศ์อดิศร นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ นายธัชพล อภิรติมัย ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่นายนรินทร์ หล้าตัน ผู้อำนวยการสำนักช่างร่วมกับ มูลนิธิป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าและฝุ่นควัน จังหวัดเชียงใหม่ พร้อมด้วยมี ประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่, หัวหน้าส่วนราชการ อบจ.เชียงใหม่, นายอำเภอ, สภาลมหายใจจังหวัดเชียงใหม่, สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่, นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนายกสมาคมกำนัน ผู้ใหญ่บ้านฯ สื่อมวลชน และผู้เข้าร่วมพิธีในครั้งนี้

โดยได้มอบเงินอุดหนุน โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าและฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ให้กับมูลนิธิป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าและฝุ่นควัน จังหวัดเชียงใหม่ ผ่านทางนายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่, นายทศพล เผื่อนอุดม รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ และนายดนัย สุขสกุล ป้องกันจังหวัดเชียงใหม่

นายพิชัย เลิศพงศ์อดิศร นายกอบจ.เชียงใหม่ เผยว่า พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) เพื่อสนับสนุนงบประมาณดำเนินการควบคุมไฟป่าและฝุ่นควันระหว่าง องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ กับมูลนิธิป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าและฝุ่นควัน จังหวัดเชียงใหม่ ในครั้งนี้ ตามที่รัฐบาลได้ประกาศยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิต ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยมีวาระการปฏิรูประบบการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ โดยการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการ.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ ที่เป็นปัญหาเฉพาะพื้นที่ เช่น ปัญหามลพิษจากหมอกควันในพื้นที่ภาคเหนือ 9 จังหวัด โดยเฉพาะจังหวัดเชียงใหม่ นั้น

จากปัญหาดังกล่าวถือเป็นปัญหาของประเทศไทยที่เป็นวาระแห่งชาติคณะรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้กองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ กระทรวงมหาดไทย เตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็ก(PM2.5) โดยเฉพาะการเน้นย้ำการป้องกันและลดการเกิดมลพิษที่ต้นทางแหล่งกำเนิด โดยบูรณาการกับหน่วยงานราชการ ภาควิชาการ ภาคประชาชน และภาคเอกชน ในรูปแบบการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน นโยบายด้านสุขภาพและอนามัยของประชาชน คือ “สุขภาพดีใกล้บ้าน” ด้วยการลดมลภาวะสิ่งแวดล้อม PM 2.5 และแสวงหามาตรการป้องกันมลภาวะด้านอื่นๆ เพื่อป้องกันผลกระทบที่เกิดต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน ซึ่งใน 727 หมู่บ้าน เป็นหมู่บ้านแนวเขตเฝ้าระวังไฟป่า และอำเภอ 24 อำเภอ ที่ได้รับเงินอุดหนุนจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่นี้ จำนวนเงิน 10,990,000 บาท เป็นการอุดหนุนที่นอกเหนือจากงบประมาณที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้สนับสนุนไป

ซึ่งผมหวังว่าการดำเนินโครงการดังกล่าวฯ จะบรรลุตามวัตถุประสงค์ตามที่ ได้ตั้งเป้าหมายไว้ทุกประการ และขอให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ทุกภาคส่วน ที่มีความมุ่งมั่น ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าและฝุ่นควัน จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อชาวเชียงใหม่ จะได้มีสุขภาพที่ดีขึ้น และเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของพี่น้องประชาชนชาวจังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้วิสัยทัศน์ “มุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวเชียงใหม่ ด้วยการให้บริการสาธารณะ ที่มีประสิทธิภาพ”

ทางด้านนายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เผยว่า เพื่อแสดงเจตนารมณ์ในการร่วมมือป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละออง จังหวัดเชียงใหม่ รวมถึงการสนับสนุนงบประมาณดำเนินการควบคุมไฟป่าและฝุ่นควันเพื่อนำไปสู่การจัดการไฟป่าและทรัพยากรธรรรมชาติอย่างยั่งยืน จังหวัดเชียงใหม่ ได้ดำเนินภารกิจด้านการป้องกันปัญหาไฟป่าและฝุ่นควันที่เกิดขึ้นทุกปี ซึ่งเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยมีการจัดหาทุน
หรือระดมทุนจากทุกภาคส่วน เพื่อสนับสนุนภารกิจในด้านการป้องกันแก้ไขปัญหาไฟป่าและฝุ่นควัน ตลอดจนภัยพิบัติที่เกิดจากธรรมชาติหรืออื่นๆ ที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่

ซึ่งในปี 2568 นี้ จังหวัดเชียงใหม่ ได้ดำเนินการขับเคลื่อน มาตรการอากาศสะอาด ภายใต้แนวคิด “ร่วมมือกันเพื่อสร้างอากาศสะอาด Collaboration to create clean air“ ประกอบด้วย 4 มาตรการ มาตรการที่ 1 การป้องกันและลดการเกิดไฟป่าและมลพิษที่ต้นทาง (แหล่งกำเนิด), 2.มาตรการที่ 2 การลดผลกระทบต่อสุขภาพประชาชน, 3. มาตรการที่ 3 การบริหารจัดการและกลไกการทำงานร่วมกัน (Managementand collaborative mechanisms) และ 4. มาตรการที่ 4 การสร้างความยั่งยืน รวมทั้งการระดมสรรพกำลัง ทรัพยากร บุคลากร และงบประมาณ ของหน่วยงาน ตลอดจนการประสานงานผลักดันทุกภาคส่วนและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุค่าเป้าหมาย ตัวชี้วัด ที่กำหนดไว้และอีกปัจจัยสำคัญที่ต้องคำนึงถึง คือการมีส่วนร่วมของประชำชนในพื้นที่ ซึ่งพวกเขาเหล่านี้เป็นผู้ช่วยเหลือการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานราชการต่างๆ ให้ประสบผลสำเร็จในการแก้ไขปัญหาไฟป่าและฝุ่นควันส่งผลให้เกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจ สังคม สุขภาพ และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของประชาชนส่วนรวมทั้งจังหวัด

ในการนี้ มูลนิธิป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าและฝุ่นควัน จังหวัดเชียงใหม่ ได้จัดทำ “โครงการป้องกันแก้ไขปัญหาไฟป่า
และฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ของมูลนิธิป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า
และฝุ่นควัน จังหวัดเชียงใหม่” โดยขอรับการอุดหนุนงบประมาณจากองค์การ
บริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ อันเป็นการบูรณาการความร่วมมือกันระหว่างองค์กรการกุศล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานราชการ และองค์กรภาคประชาชน รวมไปถึง ประชาชน ในการป้องกันแก้ไขไฟป่าและปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) เป็นเงินจำนวนทั้งสิ้น 10,990,000 บาท โดยสนับสนุนไปยังที่ทำการปกครองอำเภอ 24 แห่ง และอาสาสมัครประจำหมู่บ้านของมูลนิธิป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าและฝุ่นควัน จังหวัดเชียงใหม่ในพื้นที่ 727 หมู่บ้าน ที่เป็นพื้นที่ติดป่าและมีความเสี่ยงในการเกิดไฟ แต่ยังไม่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณผ่านช่องทางต่างๆของทางราชการ พร้อมกันนี้ต้องขอขอบคุณองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ เป็นอย่างยิ่ง ที่ได้มอบเงินอุดหนุนให้กับทางมูลนิธิฯ เพื่อนำไปดำเนินการด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าและฝุ่นควัน ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ให้เกิดประสิทธิภาพ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับการสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ในโอกาสต่อไป และขอขอบคุณภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน ที่ร่วมลงนามและร่วมเป็นสักขีพยายนในการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) การป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควัน และฝุ่นละออง จังหวัดเชียงใหม่ในครั้งนี้.