บ้านสันทราย – ดอนจั่น ไม่ทิ้งกัน

บ้านสันทราย – ดอนจั่น ไม่ทิ้งกัน

วันศุกร์ที่ 27 กันยายน พุทธศักราช 2567 คณะสงฆ์ คณะศรัทธาหมู่ 3 บ้านสันทราย – ดอนจั่น อำเภอเทืองเชียงใหม่ ร่วมด้วยช่วยกัน ทำอาหาร (ข้าวผัดกระเพรา-ไข่ดาว) แจกอิ่มสุขเพื่อนพ้องน้องพี่ ในหมู่บ้านเรา (สันทรายดอนจั่น) บ้านสันทรายดอนจั่นที่ประสบอุทกภัยน้ำท่วม มีความสุขทั้งผู้ให้ และผู้รับ “พวกเราไม่ทิ้งกัน”.

เซ็นสัญญาเขียนแบบแปลน หอประชุมคณะสงฆ์จังหวัดเชียงใหม่ หอประชุมใหญ่

เซ็นสัญญาเขียนแบบแปลน หอประชุมคณะสงฆ์จังหวัดเชียงใหม่ หอประชุมใหญ่

วันศุกร์ที่ 27 กันยายน พุทธศักราช 2567 พระครูอมรธรรมทัต เจ้าอาวาสวัดพันอ้น เชียงใหม่ เซ็นสัญญา กับ ผู้รับจ้างเขียนแบบแปลน หอประชุมคณะสงฆ์จังหวัดเชียงใหม่ หอประชุมใหญ่ ขนาดกว้าง 72 เมตร ความยาว 110 เมตร ความจุ 2,000 ที่นั่ง ณ พุทธมณฑลจังหวัดเชียงใหม่ กำหนดเขียนแล้วเสร็จ 120 วันนับจากวันทำสัญญาจ้าง ในราคา 3,000,000- บาท (สามล้านบาทถ้วน) กำหนดชำระออกเป็น 3 งวด กับนายวีระพงษ์ พรหมาวัฒน์ อาชีพสถาปนิก ผู้รับจ้างเขียนแบบแปลน ผู้รับจ้างขอเบิกเงินงวดแรกจำนวน 1,000,000- บาท (หนึ่งล้านบาทถ้วน) ได้รับเงินงวดแรกไว้ครบตามจำนวนเรียบร้อยแล้ว โดยมีพระเดชพระคุณพระเทพมังคลาจารย์ เจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ พยาน พระครูสาธุกิจจานันท์ เจ้าคณะอำเภอดอยหล่อ พยาน ณ พุทธมณฑลจังหวัดเชียงใหม่ ตำบลดอยหล่อ อำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่.

ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย

ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย

เมื่อวันอังคาร ที่ 17 กันยายน 2567 คุณวิสุทธิ เทียนชัยกุล ประธานบริษัทเชียงใหม่บุญเจริญซัพพลาย จำกัด ได้มอบสิ่งของช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ให้กับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ เพือ่นำสิ่งของที่ได้รับมอบไปช่วยผู้ประสบอุทกภัย ที่จังหวัดเชียงราย โดยได้รับการประสานงานจากพระครูธีรสุตพจน์, ดร. ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริหาร เจ้าอาวาสวัดผาลาด ในการนี้ได้มีรองศาสตราจารย์ ดร.อภิรมย์ สีดาคำ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกิจการทั่วไป
เป็นผู้รับมอบ ณ บริษัทเชียงใหม่บุญเจริญซัพพลาย จำกัด (สำนักงานใหญ่) ตำบลหนองป่าครั้ง อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่.

สามัคคีคือพลังของ ชาวกาญจน์กนก 1 สันกำแพงเชียงใหม่ ร่วมแรงร่วมใจ ป้องกันน้ำท่วมหมู่บ้าน

สามัคคีคือพลังของ ชาวกาญจน์กนก 1 สันกำแพงเชียงใหม่ ร่วมแรงร่วมใจ ป้องกันน้ำท่วมหมู่บ้าน

ที่หมู่บ้านกาญจน์กนก โครงการ 1 หมู่ 12 อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่มีขนาดใหญ่ การพบปะสนทนากันก็ในช่วงเวลาที่ออกกำลังกาย เช้าหรือเย็น เหมือนสังคมหมู่บ้านอื่นทั่วไป แต่ที่นี่ผู้คนกาญจน์กนกโครงการ 1 ไม่หมือนใคร คือความสามัคคี เหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ เดือนกันยาปี 67นี้ ถือว่าเป็นตัวสะท้อนให้เห็นชัดเจนหมู่บ้านอยู่ริมแม่น้ำโฮม และมีคลองจากนาผ่าน หมู่บ้านอีก 2สาย ทำให้เสี่ยงกับน้ำท่วม ผู้คนที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านกาญจน์กนก แห่งนี้ประชุมร่วมกันพร้อมวางแผนป้องกันเหตุภัยน้ำท่วมกันอย่างสามัคคีจนสามารถผ่านเหตุการณ์น้ำได้อย่างปลอดภัย

โดยชาวบ้านได้มีการระดมทุน และร่วมแรงกันเอง แล้วจัดการวางแผนเพื่อรับมือกับน้ำที่จะมา ทั้งขุดร่องน้ำ กั้นกระสอบทรายกั้นมวลน้ำในแต่ละบ้านทุกหลังคาเรือนในหมู่บ้านฯลฯ รวมไปถึงมีการจัดเวรเฝ้าเวลากลางคืน มีการทำอาหารแจกจ่ายกัน ด้วยความสามัคคี ชมรมคนรักบ้านเรา ยกให้ชาวกาญจน์กนก 1 เป็นหมู่บ้านจัดสรรสามัคคีดีเด่น และหมู่บ้านสามัคคีตัวอย่างไปเลยครับ.

กิจกรรมโครงการป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบาด ของโรคติดต่อ

กิจกรรมโครงการป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบาด ของโรคติดต่อ

เมื่อวันที่ 26 กันยายน เวลา 09.00 น. พระเดชพระคุณพระเทพมังคลาจารย์ เจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ เจ้าอาวาสวัดท่าตอน พระอารามหลวง เมตตากล่าวโมทนียกถา นายพิชัย เลิศพงศ์อดิศร นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ เปิดกิจกรรมโครงการป้องกัน และควบคุมการพร่ระบาด ของโรคติดต่อ กิจกรรมอบรมเฝ้าระวังควบคุมป้องกันโรคและภัยสุขภาพของประชาชน จัดโดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ มีประชาชนและผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก ณ หอประชุมโรงเรียนแม่อายวิทยาคม 128 หมู่ 1 ตำบลแม่อาย อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่.

(มีคลิป) “กาดหมั้วครัวกินบ้านเขิน 1 ชุมชน 1 softpower” ของดีตี้บ้านมอน โครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุขสร้างวัดและชุมชนด้วยนวัตวิถี สร้างความสามัคคีด้วยคุณธรรม

“กาดหมั้วครัวกินบ้านเขิน 1 ชุมชน 1 softpower” ของดีตี้บ้านมอน โครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุขสร้างวัดและชุมชนด้วยนวัตวิถี สร้างความสามัคคีด้วยคุณธรรม

เมื่อวันที่ 24 ก.ย.67 เวลา 13.30 น. ที่วัดบ้านมอญ (ต้นโพธิ์แฝดศักดิ์สิทธิ์) ต.สันกลาง อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ มีพิธีเปิดงานการดำเนินงานโครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุข สร้างวัดและชุมชนด้วยนวัตวิถี สร้างความสามัคคีด้วยคุณธรรม โดยได้รับการโปรดเมตตาจาก พระครูวิมลญาณประยุต (บุญชู ปญฺญาปชุโชโต) เจ้าคณะอำเภอสันกำแพง เจ้าอาวาสวัดร้องวัวแดง เป็นประธานในพิธีฝ่ายสงฆ์ โดยมี พระครูสังฆภารวิมล (รัตน์ติพงศ์ มหาคมฺภีรวํโส) เจ้าอาวาสวัดบ้านมอญ (ต้นโพธิ์แฝดศักดิ์สิทธิ์) พร้อมด้วย ร.ต.อ.สวิง ราชอุ่น ประธานเครือข่ายไทยเขินวัดบ้านมอญต้นโพธิ์แฝด และคณะกรรมการชุมชน 7 ป็อกให้การต้อนรับ ผมคณะศรัทธาสาธุชนชุมชนวัดบ้านมอญพร้อมด้วยแขกผู้มีเกียรติกำนันผู้ใหญ่บ้าน เข้าร่วมพิธีในครั้งนี้

กิจกรรม สรุปผลการดำเนินงานโครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุข สร้างวัดและชุมชนด้วยนวัตวิถี สร้างความสามัคคีด้วยคุณธรรม ภายในงานมีกิจกรรม มีการโชว์วีดีทัศน์การพัฒนาวัดและชุมชนด้วยนวัตวิถี ประชาสัมพันธ์กิจกรรมไทเขินบ้านมอญต้นโพธิ์แฝด, “ชม ชิม ช้อป 1 ป๊อก 1 ซอฟต์พาวเวอร์”, กิจกรรมของชุมชนไทเขินวัดบ้านมอญต้นโพธิ์แฝด ทั้ง 7 ป๊อก ได้แก่ป๊อกบ้านหนองเงิน นำเสนอ อาหาร และผลิตภัณฑ์ ขนมไทยมันสำปะหลัง, กล้วยฉาบ, ขนมไทยเผือก, สินค้าที่นำไปแสดง ผลิตภัณฑ์งานปักของตกแต่งบ้านตาแหลว, ผ้าพันคอ, เสื้อสำเร็จรูปและ งานดอกไม้ใบตองสด, ป๊อกบ้านกู่คำ นำเสนอ อาหาร และผลิตภัณฑ์ ขนมไทยปั้นสิบ และการแสดงฟ้อนเล็บ ฆ้อง กลอง, ป๊อกบ้านหนองเต๊า นำเสนอ อาหาร และผลิตภัณฑ์ อาทิน้ำพริกตาแดงสูตรไทเขิน, ส้มตำไทเขิน, ป๊อกบ้านกวาง นำเสนอ อาหาร และผลิตภัณฑ์ ขนมไทย ขนมจีบนก, ขนมช่อม่วง, ขนมช่อผกา, ขนมอัญชัน, ขนมจ๊อก, เครื่องดื่มกาแฟสด, น้ำสมุนไพร ตาแหลว, ตุงพันดวง, ผ้าห่อธรรม และโคมตาแหลว, ป๊อกบ้านสันหลวง นำเสนอ อาหาร และผลิตภัณฑ์ ข้าวหมากสูตรไทเขิน, ข้าวต้มกะทิ และการตัดช่อตุง, ป๊อกบ้านทรายไส้อั่วสูตรไทเขิน, กับข้าวสุกสูตรไทเขิน และป๊อกบ้านหัวซาว นำเสนอ อาหาร และผลิตภัณฑ์ขนมไทยข้าวต้มหัวหงอก, ขนมจ๊อก, ขนมกน ศิลปะและวิถีชีวิตพื้นบ้าน เป็นต้น

นายนริศ บุญสถิตย์ เผยว่า “ต๋าแหลว” ในภาษาเหนือหมายถึง ตาเหยี่ยว เป็นเครื่องหมายทางพิธีกรรมตามความเชื่อของคนล้านนา เพื่อแสดงอาณาเขตที่มีเจ้าของ เขตหวงห้าม และยังเชื่อว่าจะสามารถปกป้องพื้นที่นั้นให้คลาดแคล้วจากภัยพิบัติทั้งปวง ใช้แขวนกับสายสิญจน์และหญ้าคาฟั่นไว้กลางประตูเมืองหลังพิธีสืบชะตาเมืองเพื่อป้องกันสิ่งอัปมงคล และใช้เสียบไม้ปักไว้ในบริเวณปลูกข้าวแรกนา เป็นต้น ซึ่งต้นเองพร้อมผลักดัน ตาแหลวขึ้น เพื่ออนุรักษ์ สืบสานภูมิปัญญา ท้องถิ่น และเสริมสร้าง ประสบการณ์ ในการคิด ริเริ่มสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนา ทรัพยากร ของชุมชน ให้มีคุณค่า สร้างงาน สร้างรายได้ แก่ชุมชน อีกด้วย

ร.ต.อ.สวิง ราชอุ่น ประธานเครือข่ายไทยเขินวัดบ้านมอญต้นโพธิ์แฝด กล่าวว่า “ต้นโพธิ์แฝดศักดิ์สิทธิ์” วัดบ้านมอญ 1 อันซีนที่สายมู ต้องมาสักการะขอพร ต้นโพธิ์แฝด หรือ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ที่วัดบ้านมอญ ต.สันกลาง อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่นั้น เป็นที่ศรัทธาของประชาชนมากมาย วันๆจะมีผู้คนทั้งในเชียงใหม่และต่างจังหวัด หลั่งไหลกันมา ที่วัดบ้านมอญ เพื่อมาลอดต้นโพธิ์แฝด ตามความเชื่อที่ว่า “จะมีโชคลาภ วาสนา เสริมบุญบารมี อยู่เย็นเป็นสุข สะเดาะเคราะห์” อีก 1 ที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจของชาวบ้าน และการได้ลอดต้นโพธิ์แฝดยังเพื่อความเป็นสิริมงคลอีกด้วย

นอกจากนี้ ชุมชนบ้านมอญ ยังเป็นแหล่งเรียนรู้เพื่อศึกษาพิธีกรรมแห่งล้านนาและบริบทชุมชน โดยได้รับเมตตาจากพระครูสังฆภารวิมล เจ้าอาวาสวัดบ้านมอญ ถ่ายทอดองค์ความรู้ ความเป็นมาของชุมชนบ้านมอญ ตลอดจนความเป็นมาของวัดบ้านมอญ ความรู้เกี่ยวกับ “ตาแหลว” ซึ่งเป็นเครื่องหมายพิธีกรรมแห่งล้านนา หนึ่งในสินค้า OTOP ที่ทางชุมชนวัดบ้านมอญภาคภูมิใจ.

ประกวดวาดภาพทัศนศิลป์ สัตตมหาสถานครั้งที่ 4

ประกวดวาดภาพทัศนศิลป์ สัตตมหาสถานครั้งที่ 4

ในวันอังคารที่ 24 กันยายน 2567 พระครูสิริบรมธาตุพิทักษ์, ผศ.ดร. รองอธิการบดี มจร วิทยาเขตเชียงใหม่ ได้เป็นประธานกล่าวให้โอวาทและมอบเกียรติบัตรให้กับนิสิตที่เข้าร่วมกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมการท่องเที่ยวสัตตมหาสถาน และการประกวดวาดภาพทัศนศิลป์ สัตตมหาสถานครั้งที่ 4 ภายใต้โครงการนำพุทธสิลป์ส่งเสริมการท่องเที่ยว สัตตมหาสถาน 2567 ในการนี้ได้รับเกียรติจาก ผศ.ดร.สุรสิทธิ์ เสาว์คง อาจารย์อาวุโส และอาจารย์อุดม ธราวิจิตรกุล พร้อมด้วยคณาจารย์สาขาวิชาพุทธศิลปกรรมนำโดย ผศ.ปฏิเวธ เสาว์คง หัวหน้าโครงการ ประธานสาขาวิชาพุทธศิลปกรรมร่วมกันเป็นคณะกรรมการตัดสินในการประกวดวาดภาพเส้น งานจิตรกรรม และงานประติมากรรม โดยในกิจกรรมนี้มีนิสิตสาขาวิชาพุทธศิลปกรรมชั้นปีที่ 1 – ปีที่ 4 เข้าร่วมเป็นจำนวนมาก ณ วัดเจ็ดยอด พระอารามหลวง ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่.

พิธีทำบุญ 10 วัน อาจารย์เจริญ เชาวน์ประยูร

พิธีทำบุญ 10 วัน อาจารย์เจริญ เชาวน์ประยูร

วันที่ 24 กันยายน 2567 พระเดชพระคุณพระเทพมังคลาจารย์ เจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ เจ้าอาวาสท่าตอนพระอารามหลวง เมตตาเป็นประธานฝ่ายสงฆ์ พิธีทำบุญ 100 วัน อาจารย์เจริญ เชาวน์ประยูร (ป.ม.ช.,ม.ว.ม.) อายุ 89 ปี อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ 7 สมัย ซึ่งภรรยา บุตร ธิดา คณะลูกหลาน ร่วมทำบุญอุทิศส่วนกุศล ณ บ้านพัก หลิ่งกอก ซอย 3 อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่.

ปลูกต้นไม้พัฒนามหาวิทยาลัยสีเขียว

ปลูกต้นไม้พัฒนามหาวิทยาลัยสีเขียว

วันอังคารที่ 24 กันยายน 2567 เวลา 12.30 น.ผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนิสิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ โดยพระครูปริยัติเจจิยานุรักษ์, ผศ.ดร. รักษาการผู้อำนวยการสำนักงานวิทยาเขต ผู้อำนวยการวิทยาลัยสงฆ์เชียงใหม่ พร้อมด้วยพระครูสมุห์วัลลภ ฐิตสํวโร, ผศ.ดร. ประธานหลักสูตรรัฐศาสตร์ ได้นำนิสิตสาขาวิชารัฐศาสตร์ ร่วมกันปลูกต้นไม้เพื่อพัฒนามหาวิทยาลัย ตาม Concept ของมหาวิทยาลัยสีเขียว (หุบเขาแห่งความสุข) ณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ ตำบลป่าเมี่ยง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่.

ชำระค่าก่อสร้าง หอฉัน งวดที่ 2

ชำระค่าก่อสร้าง หอฉัน งวดที่ 2

วันที่ 23 กันยายน 2567 เวลา 14.00 น. พระครูอมรธรรมทัต เจ้าอาวาสวัดพันอ้นเชียงใหม่ ผู้ว่าจ้างได้สร้างหอฉัน 1 หลัง ขนาดหว้าง 12 เมตร ยาว 40 เมตร ผู้รับจ้าง นายอำนาจ สังข์ทอง ได้เทพื้น เทเสารับโครงหลังคา เชื่อมโครงหลังคา มุงหลังคาแล้วเสร็จ จ่ายงวดที่ 2 เป็นเงินจำนวน 1,000,000.00- บาท (หนึ่งล้านบาทถ้วน) โดยมีพระเดชพระคุณพระเทพมังคลาจารย์ เจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่,พระครูสาธุกิจจานันท์ เจ้าคณะอำเภอดอยหล่อ พร้อมคณะกรรมการ การก่อสร้าง ร่วมเป็นสักขีพยาน ณ สำนักงานพุทธมณฑลจังหวัดเชียงใหม่ ตำบลดอยหล่อ อำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่.