จัดโครงการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานนิสิต

จัดโครงการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานนิสิต

วันพุธที่ 18 ธันวาคม พ.ศ.2567 วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จัดโครงการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานนิสิต ทุกชั้นปี ประจำปี 2567 ระหว่างวันที่ 10- 19 ธันวาคม 2567 มีพระวิปัสสนาจารย์ นำฝึกปฏิบัติ โดยมีผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ บุคลากร วิทยาลัยสงฆ์ฯ ถวายการดูแลอำนวยตวามสะดวก ณ อาคารสัทธาธรรม (พระเทพรัตนนายก อุปถัมภ์) วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตำบลต้นธง อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน.

ตรวจข้อสอบธรรมศึกษา ชั้นตรี ธรรมสนามหลวง

ตรวจข้อสอบธรรมศึกษา ชั้นตรี ธรรมสนามหลวง

วันพุธที่ 18 ธันวาคม พ.ศ.2567 เวลา 09.00 น. พระเดชพระคุณ พระธรรมเสนาบดี รองเจ้าคณะภาค ๗ เจ้าอาวาสวัดพระธาตุดอยสุเทพ ราชวรวิหาร ปฏิบัติหน้าที่แทนเจ้าคณะภาค 7 เมตตาเป็นประธานในการตรวจข้อสอบธรรมศึกษา ชั้นตรี ธรรมสนามหลวง ประจำปี 2567 คณะสงฆ์ภาค 7 (เชียงใหม่,ลำพูน,แม่ฮ่องสอน) ถวายสักการะ พระเทพมังคลาจารย์ เจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ พระเทพรัตนนายก เจ้าคณะจังหวัดลำพูน พระสุมณฑ์ศาสนกิตติ์ เจ้าคณะจังหวัดแม่ฮ่องสอน นางสาวหน่อแก้ว อุตโน ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดลำพูน ในนาม สำนักงานพระพุทธศาสนาทั้ง 3 จังหวัด นางสิริรัตน์ โอภาพ วัฒนธรรมจังหวัดลำพูน ในนาม สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดทั้ง 3 จังหวัด โอกาสนี้ พระเทพรัตนนายก เจ้าคณะจังหวัดลำพูน กล่าวถวายรายงาน มีเจ้าคณะพระสังฆาธิการ/คณะกรรมการ ตรวจข้อสอบธรรมศึกษาชั้นตรี ณ หอประชุมสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญญมหาเถร) มจร.วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน ตำบลต้นธง อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน

เชิญเที่ยวงาน “มนต์เสน่ห์แห่งการให้ รวมใจชาติพันธุ์” Together We Give: Charity for All

เชิญเที่ยวงาน “มนต์เสน่ห์แห่งการให้ รวมใจชาติพันธุ์” Together We Give: Charity for All

ดาว ดวลเพลงชิงทุน สาวน้อยกระเหรี่ยง ยอดกตัญญู จากอำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ (นางสาว ศศิธร ประไพมาลี ) วัย 23 ปี ปัจจุบันเป็นศิลปิน ค่ายเพลง Once all music เจ้าของบทเพลง “ชีวิตฉัน ต้องมีเธอ” สำเร็จการศึกษา ปริญญาตรี จากมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ คณะศิลปศาสตร์ ภาษาจีน

ปัจจุบันเป็นศิลปิน เจ้าของแนวคิดการจัดงาน “มนต์เสน่ห์แห่งการให้ รวมใจชาติติพันธ์” เปิดเผยว่า “ความตั้งใจที่ดาวอยากจะช่วยเหลือน้องๆบนดอยในพื้นที่ อำเภออมก๋อยจังหวัดเชียงใหม่ เพราะตระหนักว่าเมื่อเข้าสู่ฤดูหนาวแล้ว ทางบ้านบนดอยจะหนาวเย็นมากๆ เมื่อดาวยังเป็นเด็กน้อยบนดอย ก็ได้รับการช่วยเหลือจากผู้ใหญ่ใจดี มีเมตตาจากในเมือง ที่เดินทางไกลเพื่อมอบผ้าห่มให้ วันนี้ดาวโตขึ้นแล้ว จึงอยากจะตอบแทนสังคม ที่เคยได้รับโอกาสคลายหนาว คลายทุกข์เพื่อให้พี่น้องชาวดอยได้มีผ้าห่มคลายความเหน็บหนาว ปี2567 และเพื่อเป็นการเผยแพร่ ส่งเสริมการอนุรักษ์วัฒนธรรมของบรรดากลุ่มชาติพันธ์ด้วย ภายในงานจะมีอาหารของแต่ละชนเผ่าและอาหารพื้นเมืองให้ได้ลิ้มลองกัน โดยเป็นเมนูซิกเนเจอร์ที่หาทานได้ยาก ที่สำคัญคือ มีการเดินแฟชั่นโชว์ของชุดชาติพันธ์ การแสดงศิลปวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธ์ ตลอดจน ชวนดื่มกาแฟออร์แกนิคพร้อมสัมผัสกลิ่นอายธรรมชาติ Toki coffee กาแฟจากขุนแม่รวมกัลยาณิวัฒนา ซึ่งไปเปิดตัวที่ประเทศจีนก่อนหน้านี้ จนได้รับการยอมรับว่าเป็นกาแฟที่รสชาติดีเยี่ยม มีเอกลักษณ์ โดดเด่น นอกจากนี้ จะได้รับความเพลิดเพลินไปกับดนตรีสดโดยศิลปินกะเหรี่ยงมาร่วมให้ความสนุกสนาน เพลิดเพลิน ภายในงานนี้มีของที่ระลึกมากมาย จึงฝากเชิญชวนทุกคนมาร่วมกิจกรรมสร้างสุขด้วยการแบ่งปัน ให้โลกใบนี้น่าอยู่ขึ้น เพราะความรักและน้ำใจที่มอบแก่กัน”

“มนต์เสน่ห์แห่งการให้: รวมใจชาติพันธุ์” วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคม 2567 เวลา: 17:00 – 21:00 น. ณ ศูนย์เรียนรู้นานาชาติเชียงใหม่ (73/3 ถ.คันคลองชลประทานฝั่งซ้าย ซ.1 ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่)

กิจกรรมภายในงาน

-ลิ้มรสอาหารประจำเผ่าและอาหารพื้นเมือง
-ชมการแสดงแฟชั่นโชว์ชุดชาติพันธุ์
-ตื่นตากับการแสดงศิลปวัฒนธรรมชาติพันธุ์
-ดื่มกาแฟออร์แกนิกพร้อมสัมผัสกลิ่นอายของธรรมชาติ
-เพลิดเพลินกับดนตรีสด การแสดง และของที่ระลึกในโซนศิลปะ

ร่วมบริจาคเพียง 999 บาท/คน ช่องทางบริจาค โอนเงินผ่านบัญชี ธ. กสิกรไทย สาขาโลตัส คำเที่ยง เลขที่บัญชี 177-2-49867-1

ข้อมูลเพิ่มเติม Facebook : ศูนย์เรียนรู้นานาชาติเชียงใหม่ โทรศัพท์ : 093-1967535, 083-4805345, 0959738382.

รอง ผบ.นบ.ยส.35 ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการปฏิบัติงานของหน่วยด้านปรามปรามยาเสพติดในพื้นที่จังหวัดตากและจังหวัดแม่ฮ่องสอน

รอง ผบ.นบ.ยส.35 ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการปฏิบัติงานของหน่วยด้านปรามปรามยาเสพติดในพื้นที่จังหวัดตากและจังหวัดแม่ฮ่องสอน หวังปฏิบัติงานเชิงรุกในทุกมิติก่อนหยุดยาวเทศกาลปีใหม่

เมื่อวันที่ 17 ธ.ค. 67 เวลา 09.00 น. พล.ท.สมจริง กอรี รองผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการสกัดกั้นและปราบปรามยาเสพติด สารตั้งต้นและเคมีภัณฑ์ ชายแดนภาคเหนือ (รอง ผบ.นบ.ยส.35 ) เปิดเผยว่า พล.ท.กิตติพงศ์ ชื่นใจชน ผบ.นบ.ยส.35 มอบหมายให้นำคณะตรวจเยี่ยมการปฏิบัติงานของ หน่วยด้านปรามปรามยาเสพติดในพื้นที่จังหวัดตากและจังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยเฉพาะ ร้อย.ร.421 หน่วยเฉพาะกิจราชมนู ที่ ท่าข้ามสินค้าที่ 28 บ้านช่องแคบ ต.ช่องแคบ อ.พบพระ จังหวัดตาก โดยมีนายสราวุธ ภักดี ผอ.ปปส. ภาค 6 ร่วมให้ข้อมูลสถานการณ์ยาเสพติด สารตั้งต้นและเคมีภัณฑ์ ในพื้นที่
รองผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการสกัดกั้นและปราบปรามยาเสพติด สารตั้งต้นและเคมีภัณฑ์ ชายแดนภาคเหนือ

(รอง ผบ.นบ.ยส.35 ) กล่าวว่าจากประเด็นเส้นเขตแดนไทย – เมียนมาในพื้นที่การวางกำลังของกองกำลังว้า โดยเฉพาะด้านจังหวัดแม่ฮ่องสอน และ จังหวัดเชียงใหม่บางส่วน ทำให้พื้นที่เหล่านี้มีการเข้มงวดในเรื่องของมาตรการเฝ้าตรวจเพิ่มมากขึ้น อาจทำให้กลุ่มขบวนการลำเลียงยาเสพติดในพื้นที่ชะลอความพยายามในการลำเลียงยาเสพติดบางส่วน และมีการเปลี่ยนเส้นทางการนำเข้าไปยังด้าน อำเภอฝาง อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ , จังหวัดเชียงราย และ สปป.ลาว เพิ่มมากขึ้น

จากสถานการณ์ด้านการข่าว พบว่ายาเสพติดยังคงพักคอยอยู่ตามแนวชายแดนในปริมาณมากเช่นเดิม แต่รูปแบบการลำเลียงมีความหลากหลาย โดยเฉพาะการลำเลียงผ่านระบบขนส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ ยานพาหนะที่มีการดัดแปลง รวมถึง การซุกซ่อนปะปนมากับสินค้าทางการเกษตร โดยเฉพาะช่วงของเทศกาลปีใหม่ที่มีวันหยุดติดต่อกันหลายวัน และมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในภาคเหนือ รวมทั้งจากการตรวจยึดเคมีภัณฑ์ควบคุมจำนวนมาก ในพื้นที่ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เป็นสิ่งบอกเหตุได้ชัดเจนว่ากลุ่มผู้ผลิตยังคงมีความต้องการเคมีภัณฑ์เหล่านี้ นำไปใช้ในกระบวนการผลิตยาเสพติด ทั้งนี้ที่ผ่านมา นบ.ยส.35 จึงได้ร่วมกับ ปปส. ภาค 5 และภาค 6 เพิ่มมาตรการเฝ้าตรวจและสกัดกั้นให้เข้มข้นขึ้น โดยเฉพาะการลาดตระเวนตามแนวชายแดน การตั้งจุดตรวจระหว่างอำเภอเป้าหมาย ตลอดจนการอาศัยการข่าวจากหน่วยความมั่นคง เพื่อสกัดกั้นกลุ่มขบวนการลำเลียงยาเสพติดไว้ ณ พื้นที่ชายแดนให้มากที่สุด

สำหรับผลการดำเนินงานด้านการสกัดกั้นและปราบปรามของหน่วยตั้งแต่ 1 ต.ค. 67 – 16 ธ.ค.67 มีเหตุการณ์สำคัญ 44 เหตุการณ์ เกิดการปะทะ 9 ครั้ง ตรวจยึด/จับกุม 35 ครั้ง ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่และจังหวัดตาก จับกุมยาบ้า 47 ล้านเม็ด, ไอซ์ 2,357 กก., เฮโรอีน 140 กก., เคตามีน 802.86 กก.ผู้ต้องหา 45 คน เปรียบเทียบในห้วงเวลาเดียวกัน มียาบ้าเพิ่มขึ้น 11 ล้านเม็ด คิดเป็นร้อยละ 23.95 ไอซ์ เพิ่มขึ้น 1,593 กก.คิดเป็นร้อยละ 208.6.

(มีคลิป) อบจ.เชียงใหม่มอบเงินอุดหนุนมูลนิธิป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าและฝุ่นควัน จ.เชียงใหม่ “มุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวเชียงใหม่ ด้วยการให้บริการสาธารณะ ที่มีประสิทธิภาพ”

พิธีมอบเงินอุดหนุนมูลนิธิป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าและฝุ่นควัน จ.เชียงใหม่ “มุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวเชียงใหม่ ด้วยการให้บริการสาธารณะ ที่มีประสิทธิภาพ”

เมื่อวันที่ 16 ธ.ค.67 เวลา 13.30 น. ที่ห้องประชุมสภาฯ ชั้น 2 อบจ.เชียงใหม่ นายพิชัย เลิศพงศ์อดิศร นายกอบจ.เชียงใหม่ ประธานกล่าวเปิดงานพิธีมอบเงินอุดหนุนให้กับมูลนิธิป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่ากำหนดการงานพิธีมอบเงินอุดหนุนมูลนิธิป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าและฝุ่นควัน จังหวัดเชียงใหม่
โดยมีประธานกรรมการมูลนิธิป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าและฝุ่นควัน จังหวัดเชียงใหม่ นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวรับมอบเงินอุดหนุนมูลนิธิป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าและฝุ่นควัน จังหวัดเชียงใหม่ พร้อมร่วมลงนามบันทึกข้อตกลง ระหว่าง องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ผู้ให้เงินอุดหนุน โดยนายพิชัย เลิศพงศ์อดิศร นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ นายธัชพล อภิรติมัย ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่นายนรินทร์ หล้าตัน ผู้อำนวยการสำนักช่างร่วมกับ มูลนิธิป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าและฝุ่นควัน จังหวัดเชียงใหม่ พร้อมด้วยมี ประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่, หัวหน้าส่วนราชการ อบจ.เชียงใหม่, นายอำเภอ, สภาลมหายใจจังหวัดเชียงใหม่, สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่, นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนายกสมาคมกำนัน ผู้ใหญ่บ้านฯ สื่อมวลชน และผู้เข้าร่วมพิธีในครั้งนี้

โดยได้มอบเงินอุดหนุน โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าและฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ให้กับมูลนิธิป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าและฝุ่นควัน จังหวัดเชียงใหม่ ผ่านทางนายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่, นายทศพล เผื่อนอุดม รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ และนายดนัย สุขสกุล ป้องกันจังหวัดเชียงใหม่

นายพิชัย เลิศพงศ์อดิศร นายกอบจ.เชียงใหม่ เผยว่า พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) เพื่อสนับสนุนงบประมาณดำเนินการควบคุมไฟป่าและฝุ่นควันระหว่าง องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ กับมูลนิธิป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าและฝุ่นควัน จังหวัดเชียงใหม่ ในครั้งนี้ ตามที่รัฐบาลได้ประกาศยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิต ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยมีวาระการปฏิรูประบบการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ โดยการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการ.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ ที่เป็นปัญหาเฉพาะพื้นที่ เช่น ปัญหามลพิษจากหมอกควันในพื้นที่ภาคเหนือ 9 จังหวัด โดยเฉพาะจังหวัดเชียงใหม่ นั้น

จากปัญหาดังกล่าวถือเป็นปัญหาของประเทศไทยที่เป็นวาระแห่งชาติคณะรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้กองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ กระทรวงมหาดไทย เตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็ก(PM2.5) โดยเฉพาะการเน้นย้ำการป้องกันและลดการเกิดมลพิษที่ต้นทางแหล่งกำเนิด โดยบูรณาการกับหน่วยงานราชการ ภาควิชาการ ภาคประชาชน และภาคเอกชน ในรูปแบบการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน นโยบายด้านสุขภาพและอนามัยของประชาชน คือ “สุขภาพดีใกล้บ้าน” ด้วยการลดมลภาวะสิ่งแวดล้อม PM 2.5 และแสวงหามาตรการป้องกันมลภาวะด้านอื่นๆ เพื่อป้องกันผลกระทบที่เกิดต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน ซึ่งใน 727 หมู่บ้าน เป็นหมู่บ้านแนวเขตเฝ้าระวังไฟป่า และอำเภอ 24 อำเภอ ที่ได้รับเงินอุดหนุนจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่นี้ จำนวนเงิน 10,990,000 บาท เป็นการอุดหนุนที่นอกเหนือจากงบประมาณที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้สนับสนุนไป

ซึ่งผมหวังว่าการดำเนินโครงการดังกล่าวฯ จะบรรลุตามวัตถุประสงค์ตามที่ ได้ตั้งเป้าหมายไว้ทุกประการ และขอให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ทุกภาคส่วน ที่มีความมุ่งมั่น ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าและฝุ่นควัน จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อชาวเชียงใหม่ จะได้มีสุขภาพที่ดีขึ้น และเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของพี่น้องประชาชนชาวจังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้วิสัยทัศน์ “มุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวเชียงใหม่ ด้วยการให้บริการสาธารณะ ที่มีประสิทธิภาพ”

ทางด้านนายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เผยว่า เพื่อแสดงเจตนารมณ์ในการร่วมมือป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละออง จังหวัดเชียงใหม่ รวมถึงการสนับสนุนงบประมาณดำเนินการควบคุมไฟป่าและฝุ่นควันเพื่อนำไปสู่การจัดการไฟป่าและทรัพยากรธรรรมชาติอย่างยั่งยืน จังหวัดเชียงใหม่ ได้ดำเนินภารกิจด้านการป้องกันปัญหาไฟป่าและฝุ่นควันที่เกิดขึ้นทุกปี ซึ่งเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยมีการจัดหาทุน
หรือระดมทุนจากทุกภาคส่วน เพื่อสนับสนุนภารกิจในด้านการป้องกันแก้ไขปัญหาไฟป่าและฝุ่นควัน ตลอดจนภัยพิบัติที่เกิดจากธรรมชาติหรืออื่นๆ ที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่

ซึ่งในปี 2568 นี้ จังหวัดเชียงใหม่ ได้ดำเนินการขับเคลื่อน มาตรการอากาศสะอาด ภายใต้แนวคิด “ร่วมมือกันเพื่อสร้างอากาศสะอาด Collaboration to create clean air“ ประกอบด้วย 4 มาตรการ มาตรการที่ 1 การป้องกันและลดการเกิดไฟป่าและมลพิษที่ต้นทาง (แหล่งกำเนิด), 2.มาตรการที่ 2 การลดผลกระทบต่อสุขภาพประชาชน, 3. มาตรการที่ 3 การบริหารจัดการและกลไกการทำงานร่วมกัน (Managementand collaborative mechanisms) และ 4. มาตรการที่ 4 การสร้างความยั่งยืน รวมทั้งการระดมสรรพกำลัง ทรัพยากร บุคลากร และงบประมาณ ของหน่วยงาน ตลอดจนการประสานงานผลักดันทุกภาคส่วนและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุค่าเป้าหมาย ตัวชี้วัด ที่กำหนดไว้และอีกปัจจัยสำคัญที่ต้องคำนึงถึง คือการมีส่วนร่วมของประชำชนในพื้นที่ ซึ่งพวกเขาเหล่านี้เป็นผู้ช่วยเหลือการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานราชการต่างๆ ให้ประสบผลสำเร็จในการแก้ไขปัญหาไฟป่าและฝุ่นควันส่งผลให้เกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจ สังคม สุขภาพ และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของประชาชนส่วนรวมทั้งจังหวัด

ในการนี้ มูลนิธิป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าและฝุ่นควัน จังหวัดเชียงใหม่ ได้จัดทำ “โครงการป้องกันแก้ไขปัญหาไฟป่า
และฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ของมูลนิธิป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า
และฝุ่นควัน จังหวัดเชียงใหม่” โดยขอรับการอุดหนุนงบประมาณจากองค์การ
บริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ อันเป็นการบูรณาการความร่วมมือกันระหว่างองค์กรการกุศล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานราชการ และองค์กรภาคประชาชน รวมไปถึง ประชาชน ในการป้องกันแก้ไขไฟป่าและปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) เป็นเงินจำนวนทั้งสิ้น 10,990,000 บาท โดยสนับสนุนไปยังที่ทำการปกครองอำเภอ 24 แห่ง และอาสาสมัครประจำหมู่บ้านของมูลนิธิป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าและฝุ่นควัน จังหวัดเชียงใหม่ในพื้นที่ 727 หมู่บ้าน ที่เป็นพื้นที่ติดป่าและมีความเสี่ยงในการเกิดไฟ แต่ยังไม่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณผ่านช่องทางต่างๆของทางราชการ พร้อมกันนี้ต้องขอขอบคุณองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ เป็นอย่างยิ่ง ที่ได้มอบเงินอุดหนุนให้กับทางมูลนิธิฯ เพื่อนำไปดำเนินการด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าและฝุ่นควัน ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ให้เกิดประสิทธิภาพ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับการสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ในโอกาสต่อไป และขอขอบคุณภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน ที่ร่วมลงนามและร่วมเป็นสักขีพยายนในการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) การป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควัน และฝุ่นละออง จังหวัดเชียงใหม่ในครั้งนี้.

นายกแม่เหียะคนใหม่ พร้อมคณะไหว้สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ก่อนเข้ารับตำแหน่ง

นายกแม่เหียะคนใหม่ พร้อมคณะไหว้สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ก่อนเข้ารับตำแหน่ง

นายกริณย์พล ไชยยาพิบูล นายกเทศมนตรีเมืองแม่เหียะ พร้อมคณะผู้บริหาร และสมาชิกสภาฯชุดใหม่ทั้งหมดร่วมพิธีไหว้สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่หน้า สนง.ทม.แม่เหียะ ก่อนเข้ารับตำแหน่ง นายกฯ ชาวบ้านหลายร้อย ต้อนรับอบอุ่น

เมื่อเวลา 09.09 น.วันที่ 16 ธันวาคม 2567 ที่ศาลพระพรหมเจ้าที่และศาลตายายบริเวณหน้าเทศบาลเมืองแม่เหียะ ต.แม่เหียะ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ นายกริณย์พล ไชยยาพิบูล นายกเทศมนตรีเมืองแม่เหียะ นำคณะผู้บริหารและสมาชิกสภาเทศบาลเมืองแม่เหียะ ประกอบพิธีไหว้สักการะศาลพระพรหมเจ้าที่และศาลตายาย

หลังจากนั้นเวลา 09.29 น.ทางพราหมณ์ เดินนำนายกริณย์พล นายกเทศมนตรีเมืองแม่เหียะ พร้อมคณะผู้บริหาร และสมาชิกสภาทั้งหมด เดินเข้าห้องทำงาน ชั้น 3 ของอาหารสำนักงาน เพื่อส่งนายกฯ พร้อมนำพระพุทธรูป “พระพุทธสิหิงค์” ประทับที่แท่นบูชา และให้นายกริณย์พล เป็นผู้นำจุดธูปเทียนบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพื่อเป็นมงคล เป็นอันเสร็จสิ้นพิธี จากนั้นทางพราหมณ์ แนะนำปรับแต่ห้องทำงานเพื่อความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน

จากนั้น นายกริณย์พล นายกเทศบาลเมืองแม่เหียะ เดินลงจากชั้น 3 มาพบปะกับชาวบ้านเมืองแม่เหียะทุกหมู่บ้าน จำนวนมากหลายร้อยคน เข้ามามอบช่อดอกไม้ให้กำลังใจ และถ่ายภาพร่วมกับชาวบ้าน พร้อมพูดคุยกับชาวบ้าน ว่า จะเน้นทำงานร่วมกับทุกภาคส่วน และทำงานภายใต้สโลแกนที่ว่า ”เราต้อง “เปลี่ยน” เพื่อแม่เหียะ พรุ่งนี้ที่ดีกว่า“

นอกจากชาวบ้านยังได้มีทางนายดี จันทคลักษณ์ ประธานวิสาหกิจชุมชนผลิตอาหารสัตว์ส่งเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี พร้อมกรรมการวิสาหกิจฯ( สนง.อยู่เมืองแม่เหียะ) นำวัตถุมงคลมอบให้เพื่อเป็นสิริมงคลไว้ที่ห้องทำงานด้วย

สำหรับนายกริณย์พล ไชยยาพิบูล นายกเทศมนตรีเมืองแม่เหียะ เป็นนายกฯสมัยแรก ที่สามารถล้มแชมป์เก่า คือ นายธนวัฒน์ ยอดใจ อดีตนายกเทศมนตรีเมืองแม่เหียะ ที่เป็น นายกฯมาหลายสมัยได้

จากที่มีผู้สมัครทั้งหมด 4 คน หมายเลข 1 นายกริณย์พล ไชยยาพิบูล อดีต ส.ท.เมืองแม่เหียะ, หมายเลข 2 นายธนวัฒน์ ยอดใจ อดีตนายก ทม.แม่เหียะ หลายสมัย, หมายเลข 3 นายชานนท์ ประมวลพิสุทธิ์ อดีตประธานสภา ทม.แม่เหียะ และ หมายเลข 4 นายเศวต เวียนทอง อดีตรองนายก ทม.แม่เหียะ โดยเลือกตั้งเสร็จสิ้นไปเมื่อวันที่ 10 พ.ย.2567

ในวันที่ 20 ธ.ค.2567 ที่จะถึงนี้ นายกริณย์พล นายกเทศมนตรีเมืองแม่เหียะ พร้อมทีมผู้บริหาร และสมาชิกสภาเทศบาลเมืองแม่เหียะทั้งหมดจะแต่งชุดขาว เพื่อมาแถลงนโยบายต่อสภาฯ และเริ่มปฏิบัติหน้าที่บริหารงานอย่างเป็นทางการต่อไป

เบื้องต้นมีการแต่งตั้งรายชื่อผู้บริหารแล้ว คือ นายกริณย์พล ไชยยาพิบูล นายกเทศมนตรีเมืองแม่เหียะ, นายนพรุจ ปพนธราภิวัฒน์ รองนายกฯ, นายเทอดเกียรติ เกิดนพคุณ รองนายกเทศมนตรี, นายยงยุทธ คุณธา รองนานกเทศมนตรี, และนายพงศธร มั่นศักดิ์ เลขานุการนายกเทศมนตรี และ นางสาวธัญยรัตน์ อภิณ์ภูบดินทร์ เลขานุการนายกเทศมนตรี.

เปิดแล้ว..งาน “บอก ม่อก.” โชว์นวัตกรรม-วัสดุก่อสร้างพร้อมผังเมือง หวังลด PM2.5 เข้าตัวอาคาร

เปิดแล้ว..งาน “บอก ม่อก.” โชว์นวัตกรรม-วัสดุก่อสร้างพร้อมผังเมือง หวังลด PM2.5 เข้าตัวอาคาร

เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2567 ที่ เชียงใหม่ฮอลล์เซ็นทรัล เชียงใหม่แอร์พอร์ต จ.เชียงใหม่ คุณอเส สุขยางค์ นายกสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นประธานเปิดงานสถาปนิกล้านนา 2567 ภายใต้ชื่องาน “บอก มอก.” ที่ทางสถาปนิกล้านนาจัดขึ้นเพื่อเผยแพร่ผลงานทางวิชาชีพ ผลงานวิชาการ ผลงานวิจัยทางสถาปัตยกรรม และกิจกรรมของสถาปนิกภาคเหนือ โดยมีนายสันธยา คชสารมณี ประธานกรรมาธิการสถาปนิกล้านนา สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ วาระ 2567 -2569 พร้อมคณะกรรมการให้การต้อนรับ

นายสันธยา คชสารมณี ประธานกรรมาธิการสถาปนิกล้านนา สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ วาระ 2567 -2569 กล่าวว่า การจัดงานในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญในการเผยแพร่ผลงานทางวิชาชีพ ผลงานวิชาการ ผลงานวิจัยทางสถาปัตยกรรม และกิจกรรมที่ผ่านมาของสถาปนิกภาคเหนือ รวมทั้งมีการจัดแสดงนวัตกรรม ผลิตภัณฑ์ และวัสดุการก่อสร้างของผู้ประกอบการในพื้นที่ภาคเหนือและทั่วประเทศ ซึ่งงานครั้งนี้จะเป็นเวทีสำคัญของแวดวงวิชาชีพสถาปนิกภาคเหนือที่มีการจัดประจำทุกปี ถือว่าเป็นกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาศักยภาพให้กับสถาปนิก โดยในครั้งนี้มีแนวคิดการนำเสนอภายใต้ ชื่อว่า “บอก มอก.” ซึ่งเป็น อัตลักษณ์ด้านภาษาอันเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของชาวล้านนา ถูกนำมาสรรค์สร้าง ต่อยอด ใช้นิยามงานสถาปนิกล้านนา’67 จากความหมายเดิมอันหมายถึงการล้างแค้นหรือการกระทำให้สาแก่ใจ แต่กลายเป็นนัยยะใหม่ที่กล่าวถึง “ความเป็นมาตรฐาน ในการสร้างสรรค์ผลงานทางสถาปัตยกรรมผ่าน กระบวนคิดของสถาปนิกล้านนา

การจัดงานในปีนี้ต้องการเผยแพร่ผลงานและความรู้เชิงสถาปัตยกรรมของสถาปนิกล้านนาให้เป็นที่รู้จักในวงกว้างมากขึ้น ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ อาทิ บอก มอก. ที่ 1 : พื้นที่จัดแสดงนิทรรศการ Showcase นิทรรศการภายใต้แนวคิด “บอก (ห) มอก.”นิทรรศการวิชาชีพทางสถาปัตย กรรมของสถาปนิกภาคเหนือกว่า 30 บริษัท นิทรรศการแสดงผลงานออกแบบสถาปัตยกรรมที่ควรค่าแก่การ อนุรักษ์ นิทรรศการแสดงผลงาน VERNADOC (Vernacular Architecture Documentation) นิทรรศการแสดงผลงานของสถาบันการศึกษา นิทรรศการของศูนย์ออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน(UDC : Universal Design Center)
ส่วนกิจกรรม บอก มอก.ที่ 2 : เป็นเวทีเสวนาและแลกเปลี่ยนความคิด (ASA Talk) หัวข้อเรื่อง “เตคเฮาสู้ฝุ่น”Tects (how fight the dust) ปัญหามลพิษหมอกควันภาคเหนือ สถานการณ์ฝุ่นในภาคเหนือ จะได้นำมาร่วมพูดคุยและถกประเด็นสำคัญ พร้อมกระบวนการออกแบบทางผังเมืองที่จะช่วยลดและป้องกันฝุ่น และวิธีออกแบบพื้นที่สีเขียวในบ้านและรั้วเพื่อช่วยลดฝุ่นผ่านมุมมองของวิทยากรเหล่าสถาปนิก นักวิจัย นักเคลื่อนไหวเพื่อสังคม โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน
สำหรับในวันที่ 15 ธันวาคม 2567 มีการจัดเสวนา หัวข้อเรื่อง “เตค ต่าง ต่าง” ร่วมรับฟังแนวคิดและไอเดียที่สร้างสรรค์ของสถาปนิกในการออกแบบสถาปัตยกรรมเพื่อการแก้ปัญหาเรื่องฝุ่น หรือ PM2.5 และการออกแบบสร้างสถาปัตยกรรม ด้วยระบบเครื่อง กลหรือระบบอื่นๆ เพื่อการป้องกันฝุ่นเข้าบ้านและตัวอาคาร จุดประกายแนวคิด และแชร์ประสบการณ์แห่งความสำเร็จ โดยเหล่าสถาปนิกผู้ผันตัวเองไปสู่บทบาทอาชีพอื่น ๆ
นอกจากนี้ภายในงานยังมีกิจกรรม บอก มอก.ที่ 3 : พื้นที่ให้ความรู้ ให้บริการ และกิจกรรมเวิร์กช็อป
• กิจกรรมสถาปนิกน้อย (Junior Architect) กิจกรรมเวิร์กช็อปสอนวาดรูป Sketch เทคนิคลงสีน้ำ และเวิร์กช็อปสอนปั้นพอร์ต (Portfolio) เข้ามหาวิทยาลัย สำหรับนักเรียน นักศึกษา
• สถาปนิกและสถาบันการเงิน เปิดบริการให้ความรู้ด้านที่อยู่อาศัย สินเชื่อทางการเงิน ให้คำปรึกษาเรื่องต่างๆแก่ประชาชน
• บูธจัดแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ สินค้า และวัสดุก่อสร้างจากบริษัทชั้นนำภาคเหนือ
สำหรับ บอกมอก.ที่ 4 : พื้นที่สำหรับสมาชิกอาษาล้านนาคลับ (ASA Club) และ ASA Member (บริการสมาชิกฯ)
• โซน ASA Member : จุดให้บริการต่างๆ สำหรับสมาชิกสถาปนิกล้านนา และจำหน่ายของที่ระลึกของสถาปนิก
• โซน ASA Club พื้นที่ให้บริการอาหารและเครื่องดื่ม นั่งพักผ่อนรับฟังดนตรีขับกล่อม และผ่อนคลายกับกิจกรรมสันทนาการ
อย่างไรก็ตามการจัดงานสถาปนิกล้านนา’67 “บอก มอก.” ยังได้รับความร่วมมือจากหลายภาคส่วนในการร่วมสนับสนุนและผลักดันทำให้เกิดการจัดงาน โดยหวังให้การจัดงานในครั้งนี้เกิดผลกระทบเชิงบวกให้กับแวดวงวิชาชีพสถาปนิก สถาปนิกรุ่นใหม่ หน่วยงานภาคการศึกษา ภาครัฐ ภาคธุรกิจ ภาคการท่องเที่ยว ภาคประชาชน ต่อไป.

ศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้

เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2567 คณะศึกษาดูงานจากประเทศแทนซาเนีย เข้าศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โครงการไบโอแก๊ส โดยมีนางสาวพรทิพย์ ปามี รองผู้อำนวยการโรงเรียนแม่วินสามัคคีและนางธนภรณ์ สุวรรณปราการ พร้อมคณะครู ให้การต้อนรับ บรรยายสรุป ณ โรงเรียนแม่วินสามัคคี ตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่.

ศิษย์เก่า “MC 13” ประชุมสังสรรค์ประจำเดือนธันวาคม

ศิษย์เก่า “MC 13” ประชุมสังสรรค์ประจำเดือนธันวาคม

วันศุกร์ที่ 13 ธันวาคม 2567 เวลา 18.00 น. ดร.สุรพงษ์ ชุ่มประดิษฐ์ ประธานศิษย์เก่า MC’ รุ่น 2513 นายมงคล เชาวน์ลักษณ์สกุล ประธานกองทุนศิษย์เก่า MC’ รุ่น 2513 พร้อมคณะกรรมการ สมาชิก ประชุมสังสรรค์ประจำเดือนธันวาคม เรื่องการจัดกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ของรุ่น สรุปการจัดงานแข่งขันกอล์ฟ และงานครบรอบ 55 ปีของรุ่น MC’2513 พร้อมอวยพรวันเกิดสมาชิกที่มีวันคล้ายวันเกิดในเดือนธันวาคม มีคณะกรรมการ สมาชิก ร่วมงานอย่างคับคั่ง พร้อมถ่ายรูปเป็นที่ระลึก ณ ห้องอาหารโฮลอินวัน hole in one ถนนเชียงใหม่-แม่ริม ตำบลช้างเผือก อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่.

ต้อนรับคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย เข้าศึกษาดูงานและเยี่ยมชมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ต้อนรับคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย เข้าศึกษาดูงานและเยี่ยมชมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ศาสตราจารย์ ดร.นพ.พงษ์รักษ์ ศรีบัณฑิตมงคล อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ให้การต้อนรับ พระธรรมวชิรจินดาภรณ์,รศ.ดร. อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย พร้อมด้วยคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย ในโอกาสเยี่ยมชมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อพบปะและศึกษาดูงาน ส่วนวิชาการภายในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เกี่ยวกับ Best Practice เรื่อง การขับเคลื่อนการพัฒนามหาวิทยาลัยสู่ความเป็นเลิศ และการปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ Best Practice เรื่อง หลักสูตรระยะสั้นบูรณาการหลักสูตรข้ามศาสตร์ และ MOOC/Life Long Learning ของวิทยาลัยการศึกษาตลอดชีวิต โดยมีคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมให้การต้อนรับ เมื่อวันศุกร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2567 ณ ห้องประชุม 201 ชั้น 2 สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.