สโมสรไลออนส์มอบเครื่องมือทางการแพทย์ให้กับโรงพยาบาลแม่แตง

3 สโมสร สังกัดสโมสรไลออนส์สากลภาค 310 A1 จัดกิจกรรม สนับสนุนเครื่องมือทางการแพทย์ให้กับโรงพยาบาลแม่แตง

ที่ โรงพยาบาลแม่แตง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ นางภิญทอง สรรพศรี ผู้ว่าการไลออนส์สากลภาค 310 A1 ประธานในพิธี ร่วมกับ ประธานมูลนิธิสากล LCIF รองผู้ว่าการภาค นายกสโมสรไลออนส์ นายอำเภอแม่แตง นายกเทศมนตรีเมืองเมืองแกน สมาชิกไลออนส์และหน่วยงานในภาคีเครือข่าย ร่วมจัดกิจกรรม โครงการสนับสนุนเครื่องมือทางการแพทย์ อาทิ เครื่องตรวจวัดสัญญาณชีพแบบรวมศูนย์ จำนวน 1 ชุด พร้อมกับเครื่องติดตามการทำงานของหัวใจและสัญญาณชีพ 5 เครื่อง เตียงผู้ป่วยไฟฟ้า 2 ชุด รวมมูลค่า 1,290,000.00บาทชึ่งมีนายแพทย์ฐิติกานต์ ณ.ปั่น ผู้อำนวยการโรงพยาบาลแม่แตงเป็นตัวแทนรับมอบ นอกจากนั้นยังมอบทุนการศึกษาให้กับผู้ป่วยโรคมะเร็งจำนวน 10 ทุน ทุนละ2พันบาท และมอบถุงยังชีพให้ประชาชนชาวอำเภอแม่แตงจำนวน 200 ครอบครัวอีกด้วย

ทางด้าน ประธาน LCIF กล่าวว่า กิจกรรมการกุศลนี้ดำเนินการโดย 3 สโมสร ที่สังกัดสโมสรไลออนส์สากลภาค 310 A1 อาทิ สโมสรไลออนส์เชียงใหม่(โฮสท์)สโมสรไลออนส์เชียงใหม่อินทนนท์และสโมสรไลออนส์จามเทวีลำพูน ได้รับทุนการสนับสนุนจาก มูลนิธิไลออนส์สากล LCIF และการรวมทุนของสโมสรทั้ง3แห่งเพื่อช่วยเหลือชาวแม่แตง อาทิ การมอบถุงยังชีพ มอบทุนการศึกษา ตลอดจนชื้อเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพสูง และเกิดความรวดเร็ว แม่นยำในการตรวจรักษาผู้ป่วย ให้กับโรงพยาบาลแม่แตงที่รับผิดชอบผู้ป่วยในพื้นที่และพื้นที่ใกล้เคียง ซึ่งในแต่ละปี มีผู้ป่วยมารับใช้บริการเครื่องตรวจวัดสัญญาณชีพแบบรวมศูนย์ เพิ่มมากขึ้น

ชลประทาน เร่งระบายน้ำในแม่น้ำปิงเพิ่ม รองรับน้ำจากต้นน้ำเข้าสู่ตัวเมืองเชียงใหม่

ชลประทานเชียงใหม่ สั่ง จนท.ติดตามสถานการณ์น้ำในแม่น้ำปิง ตลอด 24 ชม. หลังฝนตกหนักหลายพื้นที่ ระบายน้ำในแม่น้ำปิงเพิ่มรองรับน้ำจากต้นน้ำเข้าสู่ตัวเมืองเชียงใหม่ ล่าสุดสถานการณ์ยังปกติ

วันที่ 22 ส.ค. 67 นายเกื้อกูล มานะสัมพันธ์สกุล ผู้อำนวยการโครงการชลประทานเชียงใหม่ เปิดเผยว่า เนื่องจากฝนตกหนักต่อเนื่องในพื้นที่ต้นน้ำของลำน้ำปิง และลำน้ำสาขา ทำให้ปริมาณน้ำท่าในลำน้ำปิง มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น จากการตรวจวัดปริมาณน้ำท่าที่ สถานี P.20 ต.เชียงดาว อ.เชียงดาว วัดได้ 56.2 ลบ.ม./วิ (ระดับน้ำ 1.04 ม.อยู่ในเกณฑ์ปกติ) และสถานี P.75 บ้านช่อแล อ.แม่แตง วัดได้ 79.20 ลบ.ม./วินาที (ระดับน้ำ 0.95 ม.อยู่ในเกณฑ์ปกติ)

โครงการชลประทานเชียงใหม่ได้พิจารณาเพิ่มการระบายน้ำ ประตูระบายน้ำท่าวังตาล เพื่อรองรับน้ำจากพื้นที่ตอนบน จากเดิม 132.98 ลบ.ม./วินาที เป็น 149.936 ลบ.ม./วินาที โดยรักษาระดับน้ำในเขตเมืองบริเวณด้านหน้าประตูระบายน้ำในแม่น้ำปิงให้อยู่ที่ +300.7 เมตร (ร.ท.ก.) ไม่มีน้ำเอ่อล้นตลิ่งด้านหน้าและท้าย และมีการสั่งการให้ เจ้าหน้าที่เฝ้าระวังสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง และให้รายงาน พร้อมลงพื้นที่ทันทีเมื่อเกิดภัย

สำหรับพื้นที่ฝั่งตะวันตกของเมืองเชียงใหม่ ที่รับน้ำจากดอยสุเทพ ได้ประสาน คบ.แม่แตง วางแผนดำเนินการจัดจราจรน้ำในคลองส่งน้ำ สายใหญ่ บริเวณอาคารอัดน้ำเชค 17 (บ้านอิงดอย ก่อนเข้าเมืองเชียงใหม่ ปริมาณน้ำ 8.8 ลบ.ม./วิ และที่คลองสายใหญ่ เชค 22 (ต.น้ำแพร่) ปัจจุบันมีอัตราการไหล 4.5 ลบ.ม. /วินาที (เกณฑ์ปกติ)ปริมาณน้ำลำเหมืองธรรมชาติ ช่างเคี่ยน ห้วยแก้ว แม่เหียะ ห้วยหมูเน่า และแม่ท่าช้าง ยังไม่มาก ปริมาณน้ำ Side flow ที่ไหลเข้ามาในระบบ คลองส่งน้ำสายใหญ่แม่แตง ยังสามารถรองรับน้ำได้

หากเกิดฝนตกหนักบนดอยสุเทพ มีน้ำหลากจากน้ำห้วยแก้วและช่างเคี่ยนไหลลงมาสู่ตัวเมืองเชียงใหม่ ซึ่งจากการตรวจสอบศักยภาพการระบายของคลองระบายห้วยทรายยังสามารถรองรับน้ำได้หากมีน้ำหลากพื้นที่หลัง ตลาดต้นพยอม จะมีการผันน้ำผ่านคลองห้วยทราย อ้อมสนามบินลงสู่คลองแม่ข่า และแม่น้ำปิงบริเวณบ้านดอนชัย กรณีปริมาณน้ำในเขตเมืองมากจะดำเนินการผันน้ำคลองแม่แตงก่อนเข้าเมืองทิ้งที่เหมืองผ่าลงน้ำแม่ริม และไซฟ่อน แม่สาลงน้ำแม่สา ซึ่งจะไหลลงสู่แม่น้ำปิงตามลำดับ ในขณะเดียวกันพื้นที่ฝ่ายส่งน้ำและบำรุงรักษาที่ 4 โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่แตง อ.หางดง อ.สันป่าตอง จะระบายลงแม่ขานผ่านคลองระบาย แม่แตง- แม่ขาน เพื่อบรรเทาผลกระทบ

ส่วนพื้นที่ท้ายน้ำปิง ได้แจ้งการเพิ่มระบายน้ำ และระดับน้ำ หน้าฝายดอยน้อย อ.ดอยหล่อ และ ปตร.แม่สอย อ.จอมทอง ให้กับกลุ่มสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า ด้านเหนือ และด้านท้ายน้ำ พร้อมผู้เลี้ยงกระชังปลา

นบ.ยส.35 อบรมเจ้าหน้าที่ เพิ่มประสิทธิภาพด้านปราบปรามยาเสพติด

วันที่ 22 ส.ค. 2567 เวลา 0900 น. พลตรีนิรันดร์ชัย ทิพย์กาญจนกุลรองผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการสกัดกั้นและปราบปรามยาเสพติดสารตั้งต้นและเคมีภัณท์ชายแดนภาคเหนือ(รองผบ.นบ.ยส.35) เป็นผู้แทน ผบ.นบ.ยส.35 เปิดการอบรมหลักสูตร เสริมประสิทธิภาพเจ้าหน้าที่ด้านปราบปรามยาเสพติด ที่ห้องประชุมโรงแรมดิอิมเพรส จว.เชียงใหม่ โดยมีนางสาวอรอนงค์ ลาภภูวนารถ ผู้อำนวยการส่วนพัฒนาบุคคลากรปราบปรามยาเสพติด และนายดนุชา ไชยวงศ์ ผู้อำนวยการส่วนอำนวยการและบังคับใช้กฎหมาย สำนักงาน ปปส.ภาค 5 เป็นผู้แทนเข้าร่วมอบรมในครั้งนี้

โครงการดังกล่าว กองกฎหมาย สำนักงาน ป.ป.ส.ร่วมกับสถาบันพัฒนาบุคคลากรด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจัดขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านการปราบปรามมีทักษะในการทำงาน ตามขั้นตอนด้านกฎหมายยาเสพติดต่างๆ รวมไปถึง การยื่นคำขอที่ถูกต้องตามลักษณะของคดี เพื่อสร้างแรงจูงใจขวัญกำลังใจ ตลอดจนความมั่นใจในการปฏิบัติงานแก่เจ้าหน้าที่ อันเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน

หน่วยบัญชาการสกัดกั้นและปราบปรามยาเสพติดสารตั้งต้นและเคมีภัณท์ชายแดนภาคเหนือ ( นบ.ยส.35) มีพื้นที่รับผิดชอบการสกัดกั้นยาเสพติดในพื้นที่ชายแดนตามนโยบายของรัฐบาล ครอบคลุม 6 จังหวัด 18 อำเภอ เพื่อต้องการให้ปัญหายาเสพติด ลดลงให้ได้ ภายใน 1 ปี โดยตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค.66 ถึงปัจจุบัน(22 ส.ค.67)สามารถยึดยาบ้ากว่า 220 ล้านเม็ด ไอซ์ 2,682 กิโลกรัม, เฮโรอีน 265.6 กก. ฝิ่นดิบ 204.4 กก., คีตามีน 21 กก., จับกุมผู้ต้องหา 1,591 ราย, กลุ่มขบวนการ เสียชีวิต 25 ศพ และมีการปะทะกับกลุ่มขบวนการ 42 ครั้ง ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ชายแดนด้าน อ.ฝาง, อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ และ อ.แม่ฟ้าหลวง อ.แม่สาย จ.เชียงราย ซึ่งเป็นพื้นที่ต่อเนื่องชายแดนและพื้นที่ตอนใน ทั้งนี้จากการสกัดกั้นปราบปรามยาเสพติดอย่างต่อเนื่องพบว่าปัจจุบันมีสถิติการจับกุมยาบ้าในห้วงเวลาเดียวกันเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วถึงร้อยละ153

สกมช. ติดตามประเมินผลแผนการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์

สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.)จัดกิจกรรม ติดตามประเมินผลการดำเนินงาน ภายใต้นโยบายและแผนการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ขับเคลื่อนนโยบาย และแผนปฏิบัติการว่าด้วย การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (พ.ศ.2565 – 2570)

ที่ห้องไอบิส 4 โรงแรมไอบิส สไตล์ จังหวัดเชียงใหม่ นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ มอบหมายให้ นายวรวิทย์ ชัยสวัสดิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานเปิดกิจกรรมการติดตามประเมินผลการดำเนินงานภายใต้นโยบายและแผนการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ในหัวข้อ นโยบายและแผนปฏิบัติการว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (พ.ศ. 2565 – 2570) สู่การปฏิบัติ โดยมี พลอากาศตรี อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ เป็นผู้กล่าวรายงาน พร้อมด้วย หน่วยงานรัฐ หน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ และมหาวิทยาลัย เข้าร่วมประชุม จำนวน 136 คน

โดยสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) จัดขึ้นเพื่อขับเคลื่อนนโยบายและแผนปฏิบัติการว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (พ.ศ. 2565 – 2570) เพื่อให้สอดคล้องตามพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ.2562 มาตรา 22 (7) ประสานงาน ปฏิบัติการ สนับสนุนและให้ความช่วยเหลือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติตามนโยบายและแผน ว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ประกอบกับ มาตรา 43 บัญญัติให้หน่วยงานของรัฐ หน่วยงานควบคุมหรือกำกับดูแล และหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศตามที่กำหนดไว้ในนโยบายและแผนปฏิบัติการว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบายและแผนดังกล่าว

ซึ่งภายในงาน สกมช. ได้มีการบรรยายให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม เรื่อง นโยบายและแผนการปฏิบัติการว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์,เรื่อง ผลการติดตามการปฏิบัติภายใต้นโยบายและแผนปฏิบัติการว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (พ.ศ. ๒๕๖๕ -๒๕๗๐) ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗,เรื่อง ผลการศึกษายุทธศาสตร์ไซเบอร์ของนานาประเทศ และความสำคัญของการมียุทธศาสตร์,เรื่องแนวทางการจัดทำประมวลแนวทางปฏิบัติด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัย และเรื่อง ออกแบบและพัฒนานโยบายและแผนปฏิบัติการว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์อย่างไรให้มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับหน่วยงาน พร้อมกันนี้ยังมีการเสวนา เรื่อง สร้างความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ในองค์กรให้สอดคล้องต่อนโยบายและแผนปฏิบัติการว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (พ.ศ. ๒๕๖๕ – ๒๕๗๐) รวมถึงสร้างความตระหนักรู้ด้านมาตรฐานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมอีกด้วย

พล.อ.ต.อมร ชมเชย เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.)
นายคเชนทร์ อึ่งสกุล ผู้อำนวยการ กลุ่มวิชาการสถิติและวางแผน สำนักงานสถิติจังหวัดเชียงใหม่ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
ดร.สมบัติ ตาปัญญา ประธานกรรมการมูลนิธิศานติวัฒนธรรม

ตามหาเจ้าของ กระสอบตกริมทาง ถนนเชียงใหม่ – พร้าว

พบกระสอบต้องสงสัยริมถนนเชียงใหม่-พร้าว นายอำเภอสั่งชุดปฏิบัติการพิเศษฝ่ายปกครองอำเภอแม่แตง ลงพื้นที่ตรวจสอบ เจอยาบ้ากว่า 1 แสนเม็ด บรรจุเต็มกระสอบ ยึดเป็นของกลางดำเนินการตามกฎหมายต่อไป

วันที่ 16 สิงหาคม 2567 เวลาประมาณ 08.30 น. นายชัยณรงค์ นันตาสาย นายอำเภอแม่แตง สั่งการให้ นายโชคทวี ศรีเที่ยง ปลัดอำเภอ ร่วมกับ เจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจภูธรแม่แตง, กำนันตำบลแม่หอพระ, ผู้บ้านบ้านนาเม็ง ต.แม่หอพระ, สมาชิกกองอาสารักษาดินแดนอำเภอแม่แตงที่ 10 และสมาชิกกองอาสารักษาดินแดนจังหวัดเชียงใหม่ ที่ 1 ชุดปฏิบัติการพิเศษฝ่ายปกครองอำเภอแม่แตง ร่วมกันตรวจสอบพื้นที่ตามที่ได้รับแจ้งจากสายลับ ว่า พบกระสอบต้องสงสัยอาจจะมีสิ่งผิดกฎหมาย บริเวณริมทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 1001 เชียงใหม่-พร้าว ประมาณกิโลเมตรที่ 46 กม. จึงได้ร่วมกันลงพื้นที่ตรวจสอบ

มีรายงานว่า นายอำเภอแม่แตง พร้อมด้วยชุดปฏิบัติการฝ่ายปกครองอำเภอแม่แตง ร่วมกันลงพื้นที่ตรวจสอบ พบว่ากระสอบมียาเสพติดให้โทษประเภท 1 เมทแอมเฟตามีน “ยาบ้า” (ตรา Y1) บรรจุอยู่ภายใน มีจำนวน 1 กระสอบ มียาบ้าประมาณ 1 แสนเม็ด เจ้าหน้าที่จึงได้ร่วมกันตรวจยึดและบันทึกตรวจยึด เพื่อดำเนินการตามกฎหมายต่อไป

ทั้งนี้ปฏิบัติการเป็นการดำเนินการภายใต้นโยบายการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของ นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ขับเคลื่อน 8 มาตรการ ตามแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดเชิงรุก ในระยะเร่งด่วน 3 เดือน (ก.ค.-ก.ย. 67) เน้นบูรณาการทุกภาคส่วน

ฝึกอบรมหลักสูตรการดับไฟป่า ให้กับเจ้าหน้าที่จาก สปป.ลาว

กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช สำนักป้องกัน ปราบปราม และควบคุมไฟป่า กรมอุทยานฯ จัดฝึกอบรมหลักสูตรการดับไฟป่า ให้กับเจ้าหน้าที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว แก้ไขปัญหาไฟป้าและหมอกควันข้ามแดนไทย – ลาว

วันที่ 16 สิงหาคม 2567 นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้มอบหมายให้นายวีระ ขุนไชยรักษ์ รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เป็นประธานในพิธีเปิด โครงการฝึกอบรมหลักสูตรการดับไฟป่าให้กับเจ้าหน้าที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยได้ดำเนินการะหว่างวันที่ 16 – 27 สิงหาคม 2567 ณ ศูนย์ฝึกอบรมและพัฒนาการควบคุมไฟป่าภาคเหนือ ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ ด้านทฤษฎีการควบคุมไฟน้ำควบคูไปกัปกับการฝึกทักษะการปฏิบัติงานควบคมไฟป่าตามหลักวิชาการ สามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับจากการฝึกอบรม ไปพัฒนาชยายผลและใช้ในการปฏิบัติงานดับไฟป่าได้อย่างมีประสิทธิภาพ จำนวน 30 คน

การฝึกอบรมในครั้งนี้มีที่มาจากการที่กรมกิจการชายแดนทหาร ได้จัดประชุมความร่วมมือชายแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน เรื่อง “แนวทางการแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควันข้ามแดนไทย – ลาว” ระหว่างวันที่ 25 – 27 มีนาคม 2567 ณ โรงแรมเซ็นทารา ริเวอร์โชต์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งมติที่ประชุมฝ่ายไทยยินดีสนับสนุนจัดการฝึกอบรมต้านการควบคุมไฟป่าให้แก่เจ้าหน้าที่ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช จึงได้จัดโครงการฝึกอบรมหลักสูตรการดับไฟป่าให้กับเจ้าหน้าที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวขึ้น

การฝึกอบรมในครั้งนี้ เจ้าหน้าที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ได้รับการฝึก ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมไฟป่า ได้แก่ ข้อตกลงระหว่างประเทศเรื่องการแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควันข้ามแดน วิธีการและเทคนิคในการดับไฟป่า ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ด้านการป่าไม้และไฟป่า การใช้เทคโนโลยีในการควบคุมไฟป่า ผลกระทบไฟป่า นโยบายการแก้ไขปัญหาไฟป่าและฝุ่นละออง การมีส่วนร่วมโนการแก้ไขปัญหาไฟป่า ความปลอดภัยในการปฏิบัติงานดับไฟป่า ทักษะการดำรงชีพในป่า การใช้และบำรุงรักษาเครื่องมือดับไฟป่า การจัดการเชื้อเพลิง การป้องกันไฟป่า การตรวจหาไฟ การดับไฟป่า การใช้แผนที่ในงานควบคุมไฟป่า การประชาสัมพันธ์ป้องกันไฟป่า การใช้อากาศยานและโครนในงานควบคุมไฟป่า การปฐมพยาบาล การจัดทำแผนและคำสั่ง การติดต่อสื่อสารและการรับส่งข่าวสาวสาร การพิจารณากำลังเสริมหรือสับเปลี่ยนกำลัง การบัญชาการสั่งการและการจำลองสถานการณ์ และการศึกษาและดูงาน

ทั้งนี้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จะได้มีความรู้ด้านทฤษฎีการควบคุมไฟป่า ควบคู่ไปกับการฝึกทักษะการปฏิบัติงานควบคุมไฟป่าตามหลักวิชาการที่ถูกต้อง สามารถลดความเสียหายของพื้นที่และได้มีโอกาสพบปะแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในการปฏิบัติงานดับไฟป่า อันส่งผลต่อการแก้ไขปัญหาหมอกควันข้ามแดนต่อไป

ชลประทานเชียงใหม่พร้อมขุดลอกเพิ่มความจุอ่างเก็บน้ำ สนับสนุนพื้นที่สวนลำไยดอยเต่า

ชลประทานเชียงใหม่ ขานรับข้อสั่งการ ผวจ.เชียงใหม่ จากตรวจสภาพอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง อ.ดอยเต่า พร้อมขุดลอกเพิ่มความจุ ให้มีน้ำเพียงพอสนับสนุนพื้นที่สวนลำไยดอยเต่า อย่างเพียงพอ

วันที่ 15 ส.ค. 67 นายเกื้อกูล มานะสัมพันธ์สกุล ผู้อำนวยการโครงการชลประทานเชียงใหม่ เปิดเผยว่า ตามที่ นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ได้ลงพื้นที่อ่างเก็บน้ำแม่หาด ตำบลโป่งทุ่ง อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ โดยมี นายเพิ่มศักดิ์ ศรีสวัสดิ์ นายอำเภอดอยเต่า พร้อมด้วย นายเอกพันธ์ สิงห์ทอน นายช่างชลประทาน เจ้าหน้าที่ฝ่ายส่งน้ำและบำรุงรักษาที่ 8 พร้อมด้วย นายเขมราษฎร์ สุปินะ เจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดสรรน้ำและปรับปรุงระบบชลประทาน โครงการชลประทานเชียงใหม่ กลุ่มผู้ใช้น้ำในพื้นที่ เข้าร่วมต้อนรับและให้ข้อมูลกับผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่

นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า อ่างเก็บน้ำแม่หาด พื้นทึ่ต้นน้ำมีความอุดมสมบูรณ์ มีน้ำสาขาไหลลงมายังอ่างฯแม่หาด กว่า 10 สาย ปัญหาที่พบ คืออ่างเก็บน้ำความจุ 2.8 ล้าน ลบ.ม. ตอนนี้สภาพอ่างตื้นเขิน มีการเก็บกักน้ำได้ไม่ถึง 2 ล้าน ลบ.ม. จึงได้มอบหมายให้ชลประทาน ดำเนินการสำรวจเพื่อทำการขุดลอกอ่าง ฯแม่หาดเพื่อให้มีปริมาณน้ำกักเก็บได้มากขึ้น และกลับมาเต็มความจุดังเดิม เพื่อให้ประชาชนมีน้ำไว้ใช้ในการเพาะปลูกลำไยด้านท้ายที่มีอยู่มาก จากนั้นได้ลงพื้นที่อ่างเก็บน้ำแม่ตูบความจุของอ่าง 39 ล้าน ลบ.ม. พบว่าปัจจุบันสภาพอ่างเก็บน้ำยังคงมีน้ำเป็นจำนวนมาก สภาพอ่างเก็บสมบูรณ์ มีความมั่นคงแข็งแรงดี

นายเกื้อกูล มานะสัมพันธ์สกุล ผู้อำนวยการโครงการชลประทานเชียงใหม่ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมถึงการดำเนินการต่อไปว่า จากการลงพื้นที่ของผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ และความห่วงใยของพี่น้องประชาชนในพื้นที่ โครงการชลประทานเชียงใหม่ ได้ขานรับนโยบายและข้อสั่งการดังกล่าว ปัจจุบันอ่างเก็บน้ำแม่หาดมีน้ำเก็บกักในอ่างฯ 1.8 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 60 ยังสามารถรองรับน้ำได้อีก 1 ล้าน ลบ.ม ซึ่งในปี 2568 มีแผนที่จะดำเนินการขุดลอกอ่างเก็บน้ำ ปริมาณตะกอนดินประมาณ 200,000 ลบ.ม.เพื่อให้อ่างเก็บน้ำสามารถเก็บน้ำได้เพิ่มขึ้นจากปัจจุบันการคาดการณ์ในช่วงฤดูฝนปีนี้จะมีน้ำเต็มความจุ 2.8 ล้านเนื่องจากมีปริมาณน้ำที่ไหลเข้าจากลำน้ำสาขาต่างๆ ลงมาที่อ่างเก็บน้ำอย่างต่อเนื่อง

ในกรณีที่มีน้ำเต็มความจุอ่างเก็บน้ำแม่หาด มีการวางแผนในการผันน้ำส่วนเกินไปเก็บกักไว้ยังอ่างเก็บน้ำแม่ตูบที่อยู่ตอนล่างซึ่งได้มีการประสานพูดคุยกับกลุ่มผู้ใช้น้ำและประชาชนในพื้นที่ในการวางแผนการระบายน้ำบางส่วนไปยังอ่างแม่ตูบ ซึ่งขณะนี้อ่างเก็บน้ำแม่ตูบ ต.โปงทุ่ง อ.ดอยเต่า จ.เชียใหม่ มีปริมาณน้ำในอ่าง 26.7040 ล้าน ลบ.ม. จากปริมาณความจุ 39.00 ล้าน ลบ.ม คิดเป็นร้อยละ68.47 ปัจจุบันยังสามารถรองรับน้ำฝนที่ตกลงมาอย่างต่อเนื่องได้

ผู้ว่าฯ แม่ฮ่องสอนลงพื้นที่ เร่งให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย

ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอนลงพื้นที่ประสบภัย เร่งตรวจพื้นที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่อำเภอขุนยวม เพื่อติดตามการดำเนินการให้ความช่วยเหลือ โดยเฉพาะหมู่บ้านที่ห่างไกลและถนนถูกตัดขาด

เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2567 นายชูชีพ พงษ์ไชย ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน ลงพื้นที่ตรวจติดตามการซ่อมแซมสะพานข้ามลำน้ำปอน ซึ่งปัจจุบันถูกน้ำในลำน้ำกัดเซาะคอสะพาน จนได้รับความเสียหายและสะพานได้ถล่มลงมาไม่สามารถใช้การได้ เบื้องต้น นายณรงค์พัชญ์ นาคทรัพย์ นายอำเภอขุนยวม ได้รายงานว่า องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ยวมน้อย ได้จัดส่งรถบรรทุกและรถขุดตักมาดำเนินการปรับปรุงซ่อมแซมบริเวณคอสะพานเพื่อให้ประชาชนชาวบ้านแม่ซอ ได้ใช้สัญจรออกจากหมู่บ้านก่อน โดยมีการเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จ ซึ่งสะพานแห่งนี้จะเชื่อมระหว่างหมู่บ้านมะหินหลวง หมู่ที่ 8 ตำบลเมืองปอน อำเภอขุนยวม ไปยังหมู่บ้านแม่ลาก๊ะ หมู่ที่ 6 ตำบลเมืองปอน อำเภอขุนยวม ซึ่งมีความเสียหาย 2 แห่ง

นายชูชีพ พงษ์ไชย ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน กล่าวว่าจังหวัดแม่ฮ่องสอน มีพื้นที่ประสบอุทกภัยใน 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง อำเภอปางมะผ้า อำเภอแม่ลาน้อย และอำเภอขุนยวม โดยอำเภอขุนยวม ประสบภัยหนักที่สุด โดยเฉพาะในพื้นที่ประสบภัยที่อยู่ห่างไกลและทุรกันดาร ทั้งนี้ หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพราน 36 ได้จัดกำลังพล ชุดบรรเทาสาธารณภัย ร่วมกับฝ่ายปกครอง อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน เข้าดำเนินการสำรวจและให้การช่วยเหลือประชาชน บ้านแม่โกปี่ ตำบลแม่ยวมน้อย อ.ขุนยวม โดยใช้เส้นทาง อ.ขุนยวม – บ.ปางอุ๋ง ต.แม่ศึก อ.แม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ – บ.หัวแม่ลาก๊ะ ต.แม่ยวมน้อย อ.ขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน แทนเส้นทางเดิมที่เกิดดินถล่ม และดินสไลด์ปิดทับเส้นทาง โดยฝ่ายปกครองได้นำเครื่องจักรขนาดใหญ่ เข้าเปิดเส้นทาง จนถึง บ้านหัวแม่ลาก๊ะ แต่ยังไม่แล้วเสร็จ และยังไม่สามารถเข้าถึง บ้านแม่โกปี่ฯ ได้

ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน ยังกล่าวต่อไปว่า โดยเฉพาะเส้นทางที่จะไปโรงเรียนบ้านแม่โกปี่ ที่มีการระบุว่ามีเด็กกว่า 40 คนถูกตัดขาดการเดินทาง ไม่สามารถออกจากโรงเรียนเพื่อกลับบ้านได้ ขณะนี้เด็กนักเรียนทั้ง 40 คนได้กลับบ้านเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ปัจจุบันโรงเรียนแห่งนี้ ไฟฟ้าและการสื่อสารไม่สามารถใช้การได้ ส่วนเครื่องอุปโภคบริโภคทางจังหวัดและอำเภอได้เข้าดำเนินการ เร่งจัดส่งไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้ว โดย อบต.แม่ยวมน้อย และหน่วยงานต่างๆ ได้นำอาหาร น้ำดื่ม และถุงยังชีพ เข้าไปให้การช่วยเหลือที่บ้านแม่โกปี่แล้ว

สสส.จัดกิจกรรม เดิน-วิ่ง HEALTHY HERO มช. ผู้เข้าร่วมงานกว่า 2,000 คน

สสส.สานต่อความสำเร็จ กับ กิจกรรม เดิน-วิ่ง HEALTHY HERO เดินหน้าจัดต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 4 ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีนักศึกษา และประชาชนทั่วไป สนใจเข้าร่วมงานกว่า 2,000 คน ทั้งนี้เพื่อมุ่งเน้นสร้างความตระหนัก รณรงค์รู้เท่าทันบุหรี่ไฟฟ้า และป้องกันโรคไม่ติดต่อ NCDs เป็นกระบอกเสียง รณรงค์ร่วมปกป้องเด็ก และเยาวขน จากบุหรี่ไฟฟ้าให้กับกลุ่มคนรุ่นใหม่

พิธีเปิดได้รับเกียรติจาก นางประภาศรี บุญวิเศษ กรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุข พร้อมด้วย นายเธียรสิทธิ์ จิโรจน์วีรภัทร ประธานสมาพันธ์ ชมรมเดิน-วิ่ง เพื่อสุขภาพไทย,ผศ.ดร.ปิติพงษ์ ยอดมงคล รองอธิการบดีฝ่ายการบริหารทรัพยากรบุคคลและพัฒนาบุคลากร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมปล่อยตัวนักวิ่งระยะทาง 4.94 กิโลเมตร

ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม รองผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)บอกว่า กิจกรรมในครั้งนี้ มุ่งสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง เกี่ยวกับพิษภัยของบุหรี่ไฟฟ้า ผ่านการสื่อสารในเชิงบวก เนื่องจากค่านิยม และความเข้าใจผิด เรื่องความร้ายแรงของบุหรี่ไฟฟ้า เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิด การสูบบุหรี่เพิ่มขึ้นขึ้น จากการที่เข้าถึงง่าย และการสร้างภาพลักษณ์ ของบริษัทบุหรี่ รวมถึงเรื่องทัศนคติของเด็ก เยาวชน และประชาชนที่มีต่อบุหรี่ไฟฟ้า การแก้ปัญหาสุขภาพ จากการสูบบุหรี่ และบุหรี่ไฟฟ้า จึงต้องให้ความสำคัญ ในการขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่อง 2 เรื่อง 1.ช่วยเหลือผู้ที่ติอยู่แล้ว ให้เลิกสูบบุหรี่ 2.รณรงค์ป้องกันไม่ให้เยาวชน ไปเสพติดบุหรี่ และบุหรี่ไฟฟ้า การป้องกันนักสูบหน้าใหม่ ถือเป็นมาตรการที่สำคัญ และจำเป็นที่จะต้องมีบุคคล ที่มีความรู้ และมีบุคคคคคลต้นแบบ ในการปลูกฝังค่านิยม ทัศนคติที่ถูกต้อง รวมถึงสร้างสิ่งแวดล้อม ที่ทำให้ให้เยาวชนเห็นคุณค่าในตัวเอง ทำให้เอาวชนยืนยันที่จะไม่สูบบุหรี่ และบุหรี่ไฟฟ้าไปตลอดชีวิต

นางสาวนิรมล ราศรี ผู้อำนวยการสำนักสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ(สสส.)บอกว่า สสส.มุ่งสร้างนวัตกรรมสุขภาพ ลดปัจจัยเสียงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อ (NCDs) โดยเฉพาะการส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกาย ทุกคนมีสุขภาพดีตลอดช่วงชีวิต อีกทั้งส่งเสริมการใช้ พื้นที่สุขภาวะละแวกบ้าน เพิ่มพื้นที่มีกิจกรรมทางกายในชีวิตประจำวัน โดยการเดิน-วิ่ง เนื่องจากทุกเพศทุกวัยทำเองได้ง่าย เพื่อสร้างสังคมกระฉับกระเฉง พร้อมส่งเสริมให้นักวิ่ง มีความรู้ที่ถูกต้อง เตรียมความพร้อมร่างกาย ก่อนลงสู่สนามอย่างปลอดภัย และลดการบาดเจ็บจากการวิ่ง

ผศ.ดร.ปิติพงษ์ ยอดมงคล รองอธิการบดีฝ่ายการบริหารทรัพยากรบุคคลและพัฒน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ บอกว่า นอกจากนี้ภายในงาน ยังมีกิจกรรมหนุนเสริมของมหาวิทยาลัย อาทิ กิจกรรมแยกขยะ กิจกรรม HealthyCMU ส่งเสริมความรู้ และความตระหนัก ด้านสุขภาพปอด(Smoke Free)การประเมินระดับการติดสารนิโคติน กิจกรรม CMU Zero Tolerance Area รณรงค์ประชาสัมพันธ์ข้อมูล กฏระเบียบ กฎหมาย เพื่อสร้างพื้นที่ปลอดภัย และความเป็นระเบียบเรียบร้อย ในมหาวิทยาลัย ซึ่งมี 6 ประเด็นได้แก่ การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ การใช้ยาเสพติด การพนันความรุนแรง การกลั่นแกล้ง และการคุกคามทางเพศ ความปลอดภัยทางถนน และการสวมใส่หมวกนิรภัย

สนใจดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Facebook Fanpage : Healthy Hero ห่างไกลโรค NCDs และบุหรี่ไฟฟ้า และ TikTok : healthyhero.TH

ขนกันไม่หยุด ล่าสุดทหารผาเมืองปะทะกลุ่มขบวนการขนยาเสพติด

ไม่รอด ทหารผาเมืองปะทะกลุ่มขบวนการลำเลียงยาเสพติด บริเวณ ช่องทาง บ.ผาหมี ต.เวียงพางคำ อ.แม่สาย จังหวัดเชียงราย ยึดยาได้ 5 เป้ แบ่งเป็น ยาบ้า จำนวน 3 เป้ๆ ละ 200,000 เม็ด รวมประมาณ 600,000 เม็ด และ เฮโรอีน จำนวน 2 เป้ๆ ละ 12 ถุง น้ำหนักถุงละประมาณ 400 กรัม รวมน้ำหนักประมาณ 9.6 กิโลกรัม

วันที่ 10 ส.ค. 67 เวลา 09.00 พลเอกนฤทธิ์ ถาวรวงษ์ ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการสกัดกั้นและปราบปรามยาเสพติด สารตั้งต้นและเคมีภัณฑ์ ชายแดนภาคเหนือ เปิดเผยว่า สถานการณ์การสู้รบในพื้นที่ของประเทศเมียนมา ยังคงเป็นปัจจัยสำคัญ ที่ทำให้มีการเร่งผลิตยาเสพติด และระบายเข้ามาในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับการทดแทนยาเสพติด ที่ถูกจับกุมได้ทั้งในพื้นที่ชายแดน และพื้นที่ตอนในของประเทศ และจากความเข้มข้นของการสกัดกั้น ในพื้นที่ภาคเหนือ ด้านจังหวัดเชียงใหม่ และเชียงรายในห้วงที่ผ่านมา ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะพื้นที่รับผิดชอบของ นบ.ยส.35 เมื่อ 9 ส.ค. 67 เวลา 2230 กองกำลังผาเมือง โดย ร้อย.ม.2 ฉก.ทัพเจ้าตาก จัดกำลัง จำนวน 1 ชุดปฏิบัติการออกลาดตระเวนเฝ้าตรวจและได้ปะทะกับกลุ่มขบวนการลักลอบลำเลียงยาเสพติด บริเวณช่องทาง บ.ผาหมี ต.เวียงพางคำ อ.แม่สาย จังหวัดเชียงราย

ผลการปฏิบัติการเจ้าหน้าที่ทุกนายปลอดภัย จากนั้นหน่วยได้จัดกำลังเพิ่มเติม จำนวน 2 ชุดปฏิบัติการเพื่อ วางกำลังควบคุมพื้นที่เกิดเหตุ และเมื่อ เวลา 0630 หน่วยได้ทำการเข้าตรวจสอบพื้นที่เกิดเหตุ ผลการปฏิบัติ ตรวจพบเป้กระสอบดัดแปลง ภายในบรรจุยาเสพติด รวมทั้งสิ้น 5 เป้ แบ่งเป็น ยาบ้า จำนวน 3 เป้ๆ ละ 200,000 เม็ด รวมประมาณ 600,000 เม็ด และ เฮโรอีน จำนวน 2 เป้ๆ ละ 12 ถุง น้ำหนักถุงละประมาณ 400 กรัม รวมน้ำหนักประมาณ 9.6 กิโลกรัม

ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการสกัดกั้นและปราบปรามยาเสพติด สารตั้งต้นและเคมีภัณฑ์ ชายแดนภาคเหนือ กล่าวต่อว่า จากการบูรณาการงานด้านการข่าวกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คาดการณ์ยังคงมีปริมาณยาเสพติดพักคอยตามแนวชายแดน ด้านตรงข้ามภาคเหนือของไทย ที่รอการสั่งและนำเข้า โดยมียาบ้าไม่น้อยกว่า 80 ล้านเม็ด ไอซ์ ประมาณ 1,000 กก โดยกลุ่มขบวนการ ใช้วิธีการที่หลากหลาย เพื่อหลีกเลี่ยงการจับกุม เช่น ใช้เด็กเยาวชนในการลำเลียง การลักลอบขนส่งผ่านระบบโลจิสติกส์ และการซุกซ่อนในช่องลับดัดแปลงของยานพาหนะที่ใช้ขนส่ง เป็นต้น ตลอดจนมีปรับรูปแบบการยาเสพติดให้มีความทันสมัย เพื่อดึงดูดกลุ่มผู้ใช้ยาเสพติด เพื่อให้มีความต้องการเพิ่มมากขึ้น